วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่1


บททื่ 1
The STUDIES Model : การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
              การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ The STUDIES Model มีจุดหมายสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 9(4) ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง
               รูปแบบ The STUDIES Model มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้ ความสามารถคุณลักษณะ ความเป็นครูตามมาตรฐานวิชาชีพ ตามที่คุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพไว้และสอดคล้องกับแนวคิดอาจารย์มืออาชีพ แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา  (ไพทูรย์ สินลารัตน์ 2550 บรรณาธิการเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย) ในการปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงศักยภาพการเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนการสอนเป็นหลัก

กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model
              รูปแบบ The STUDIES Model เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการและการจัดการชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูศึกษาวิเคราะห์หลักการแนวคิดทฤษฎีประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค Thailand 4. 0 หรือยุคการศึกษา 4. 0 มาตรฐานวิชาชีพครู พ. ศ. 2556 แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Learning การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design of Instruction: UDI) การวัดผลการเรียนรู้ การกำหนดระดับความเข้าใจ ในการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy  การะผลการศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เรียกว่า The STUDIES Model มีรายละเอียดกรอบแนวคิด (The STUDIES Model framework) ดังแผนภาพประกอบที่ 1

ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ           
ปรับปรุง 2553                                                       
2.มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาสาขาครุศาสตร์และ                                                  
สาขาศึกษาศาสตร์(หลักสูตรห้าปี)                                    
3.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา    
4. หลักสูตรการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5.การศึกษา 4.0
6. การกำหนดระดับความเข้าใจในการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามความคิด SOLO Taxonomy

แนวคิด  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้
1. ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (
constructivism )
2. Constructivist Learning method : CLM
3. แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
(
Universal Desing of Instruction : UDI )
4.SU Model
5.NPU  Model

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
1.Meyers and other (2002)
2.Meyers and  Mcnulty (2009)
3.สุเทพอ่วม  เจริญประเสริฐมงคล และวัชราเล่า
เรียนดี (
2559) (SU Learning Model)
4.สุจิตรา   ปันดี  (2558) (LRU  Model)
5.นฤมล    ปภัสสรานนท์ (2559)  (DRU Model)

รูปแบบ The STUDIES Model
ทฤษฎี / แนวคิด
ขั้นตอน/กิจกรรม การเรียนรู้
Constructivist
Clarifying  exist knowledge
Identifying receiving and understanding new information
Confirming and using new  knowledge
DRU Model
D.การวินิจฉัยการออกแบบการเรียนรู้
R.การใช้วิจัยเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
U.การประเมินตรวจสอบทบทวนตนเอง
SU Learning
Model
การวางแผนการเรียนรู้
การออกแบบการเรียนรู้
ปฏิบัติการการเรียนรู้
(การเรียนรู้ +การจัดการชั้นเรียน)
การประเมินการเรียนรู้
Reseaech Learning

วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้
วางแผนการเรียนรู้
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
การสรุปความรู้
การวิพากษ์ความรู้
ประเมินการเรียนรู้
The STUDIES
Model
S Setting
Learning
goals
T-Task
Analysis
U-Universa
Design
Instruction
D-Digital
Learning

I-Integrate
Learning

E- Evalution
S/sndardta


รูปแบบThe   STUDIES   Model
            รูปแบบ The   STUDIES    Model    มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครู  มีความรู้ความเข้าใจบทบาทมากที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอน  และมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปติดการเรียนรู้และจัดการในเรือนรายละเอียดดังภาพประกอบที่ 2

รูปแบบ  The  STUDIES Model มี 7 ขั้นตอนดังรายละเอียดต่อไปนี้
           
S : กำหนดจุดหมายการเรียนรู้  (Sciting leaสาหg Real)   กำหนดจุดหมายการเรียนรู้  ผู้เรียนต้อง ระบุจุดหมายการเรียนรู้ (privals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติโดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (delualive knowledge)    และระบุทักษะการปฏิบัติ หรือกระบวนการ   (Fctural Lawledge) จุดหมาย
การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียนปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้แต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้

            T: วิเคราะห์ภาระงาน (Talk Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความรู้ (knowledge) ทักษะ (Skill)  และเจตคติ (Attitude)  ที่เกี่ยวข้องเพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่หมายการเรียนรู้  การวิเคราะห์งานทะเบียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill- Attitudes
            D: การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเช่นเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking)    การแชร์ภาพ  และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่เป็นต้นการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศแต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับเนื้อหา (Content) จริยธรรม  สังคม   การสะท้อน  (Reflection)  ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้  การทำงานและชีวิตประจำวัน
            I : การบูรณาการความรู้ (Integrated knowledge)  การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสนาต่างๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์ใดเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทักษะและเจตคติ
           E: การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Dorman) ของบลูม (Bloom 's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงานเป็นการตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
           S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment) การประเมินคุณภาพการเรียนอิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes: SOLO Taxonomy) มากำหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นการตรวจสอบคุณภาพการเรียนรู้รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
การปรับปรุงรายวิชา
            สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต พ. ศ. 2556 เป็นหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตปรับปรุง พ. ศปรับเปลี่ยนรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ (Instructional Design and Management จัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (Instructional and Classrom Management) ปรับปรุง คือ ชื่อรายวิชารหัสวิชา จำนวนชั่วโมง ในการจัดการเรียนการสอน และคำอธิบายรายวิชาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้สาระและสมรรถนะในการเรียนรู้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ที่คุรุสภากำหนดหนังสือ "The STUDIES Model : การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ดังกล่าว

สรุป
           การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เป็นวิชาที่นักศึกษาวิชาชีพครูจะต้องศึกษาไว้ให้แตกฉานรูปแบบ The STUDIES Model เป็นการนำเสนอให้รู้จักหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดการเรียนรู้ กล่าวได้ว่าการรู้รูปแบบ The STUDIFs Model อย่างเดียวแต่ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ ก็คงสอนไม่ได้ตรงรูปแบบ The STUDIES Model พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าในการจัดการเรียนรู้ควรจะปรับปรุงแก้ไขประเด็นใด เมื่อผู้สอนได้แบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจนแล้วการจัดการเรียนรู้ต่อไปก็จะง่ายขึ้น ถ้าเป็นไปได้ก็คิดขั้นตอนกระบวนการของตนเองขึ้นมาบ้าง ไม่ต้องเดินตามวิธีการที่คนอื่นกำหนดไว้เสมอไป

ตรวจสอบและทบทวน
          สืบค้นมาตรฐานวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภามาตรฐานวิชาชีพ พ. ศ. 2556 มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพมาตรฐานที่ 6 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนนำ มากำหนดจุดหมาย (Goals) ในการศึกษารายวิชาเพื่อการบรรลุมาตรฐานดังกล่าวนี้

Weblink
http://www. ksp. or. th/ksp2013/content/view. php?m id = 136 & did = 1193

รูปภาพสำหรับ the studies model พิจิตราธงพานิช

                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น