การวางแผนจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้
Joyce and weil, (1996 : 334) อ้างว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า การสอนมุ่งเน้นการให้ ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วย ให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนการสอน โดยจัดสาระและวิธีการให้ผู้เรียนอย่างดีทั้ง ทางด้านเนื้อหา ความรู้ และการให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (academic learning) เป็น ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด ผู้เรียนมีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่เรียนและช่วยให้ผู้เรียนถึง 80% ประสบความสำเร็จในการเรียน นอกจากนั้นยังพบว่า บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน สามารถสกัดกั้นความสำเร็จของผู้เรียนได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิด ความรู้สึกในทางลบ เช่น การดุด่าว่ากล่าวแสดงความไม่พอใจ หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน
การเรียนการสอนโดยตรง
การเรียนการสอนโดยตรง ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญๆ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
1.1 ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมการเรียน]" คาดหวังแก่ผู้เรียน
1.2 ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการเก็บของ ผู้เรียนอย่างคร่าวๆ
1.3 ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละขั้นตอน
ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน
2.1 หากเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระ ข้อความรู้ หรือมโนทัศน์ ผู้สอนควรกลั่นกรองและ สกัดคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้น และนำเสนออย่างชัดเจน พร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่าง ประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจ ต่อไปจึงสรุปคำนิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
2.2 ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจ ต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแบบ (structured practice)
ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับ ให้การ เสริมแรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ (guided practice)
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่างๆ ผู้สอนจะสามารถประเมินการ เรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียน และ ช่วยเหลือผู้เรียน โดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียน แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (independent practice)
หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4 ได้ถูกต้องประมาณ 8.5 496 แล้ว ผู้สอนควร ปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญ และการเรียนรู้อยู่คงทน ผู้สอนไม่ จำเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้ การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทำติดต่อกันในครั้งเดียว ควรมีการฝึกเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนนานขึ้น
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
การเรียนการสอนแบบนี้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้ง ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาจํากัด ไม่สับสน ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตาม
ความสามารถของตนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนและมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
สรุป การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอนได้แก่
1. การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
2. การนำเสนอข้อมูลใหม่
3. การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ข้อมูลย้อนกลับและการประยุกต์ใช้
ขั้นที่ 1 การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
สร้างแรงจูงใจผู้เรียนให้มีแรงจูงใจเพียงพอที่จะมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น
ขั้นที่ 2 การนำเสนอข้อมูลหมายให้กับผู้เรียน
การอธิบาย พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อนคำถาม-ถามทีละขั้นตอน
สาธิต เรียนการสอนที่ซับซ้อนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดด้วยมีเครื่องมือจำกัดและ
คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน
ตำรา แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
แบบฝึกหัดสำหรับผู้เรียน การฝึกเขียนการจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูล
สารสนเทศ โสตทัศนูปกรณ์ สร้างความน่าสนใจและแม่นยำในการนำเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
ขั้นที่ 3 การ การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ข้อมูลย้อนกลับและการประยุกต์ใช้
สาระเบื้องต้นคือการยืนยันความถูกต้องเพื่อความแน่ใจและการให้แนวคิดและข้อเสนอแนะ
ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคลแม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มจะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่ : ตอบคําถาม การแก้ปัญหา สร้างโครงสร้าง ต้นแบบวาดแผนภูมิ สาธิตทักษะเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น