วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

จุดหมายการเรียนรู้


จุดหมายการเรียนรู้
จุดหมายการเรียนรู้ (learning Goals) ความปรารถนาอยากเรียนรู้ ความปรารถนาอาจมาจากบุคคล ประสบการณ์ สถานการณ์พิเศษหรืออื่น ๆ David Henry Feldman (อ้างถึงในอารี สัณหฉวี 2546 : 141) อารี สัณหฉวี ผู้แปล ความเก่ง 7 ชนิด ค้นหาและพัฒนาพหุปัญญาในตน กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยทัฟต์ เรียก สิ่งที่จุดประกายความ ปรารถนาที่จะเรียนรู้นี้ว่า ประสบการณ์ตกผลึก(crystallizing experiences)ประสบการณ์ประทับใจหรือ ประสบการณ์ตกผลึกนี้ จะเป็นประสบการณ์ที่เป็นจุดหักเหของชีวิต ถ้าความปรารถนาที่จะเรียนรู้เกิดขึ้นหลัง ประสบการณ์ตกผลึก ก็จะต้องมีการพัฒนาฟูมฟัก Alfred North Whitehead (อ้างถึงในอารี สัณหฉวี 2546 1 141) กล่าวว่าในการพัฒนาฟูมฟักมี 3 ขั้น เรียกว่า จังหวะของการศึกษา(rhythm of education) ขั้นที่หนึ่ง คือ ระยะหลงรัก(romance)ระยะนี้จะเป็นความรื่นเริง มีชีวิตชีวาที่จะเรียนรู้ ขั้นที่สอง คือ ระยะของความแม่นยำ(precision) ระยะนี้จะต้องศึกษาฝึกหัดฝึกซ้อมให้ถูกต้องแม่นยำและขั้นที่สาม คือระยะของความคล่องแคล่ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ (generalization) การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้เป็นแนวทางหนึ่ง ในการพัฒนาปัญญา ซึ่งอาจวางแผนเพื่อพัฒนาปัญญาด้านใดด้านหนึ่งมาศึกษาและฝึกหัด ในการวางแผน พัฒนาปัญญานี้ ผู้ที่ถนัดด้านมิติอาจททำเป็นเส้นเวลาหรือรูปภาพ ผู้ที่ถนัดด้านมนุษยสัมพันธ์อาจจะเล่าเรื่องให้ เพื่อนสนิทฟัง เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น