วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเรียนรู้แบบร่วมมือ


การเรียนรู้แบบร่วมมือ

            ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ได้รับการยืนยันจากการวิจัยทั้งการศึกษาวิจัยในห้องทดลอง และในภาคสนาม การศึกษาสหสัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือได้ผลในห้องเรียนจริงๆ Johnson and Johnson (1994) สรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) การประเมินผลรวม ได้ผลว่าการ เรียนรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ 2) การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบ ได้ข้อสรุปว่า  กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 3.)การปรพเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้แบบร่วมมือ และ 4.) การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผู้เรียน การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับชั้น ทุกเนื้อหาวิชา และทุกงาร(ภาระงาร) ด้วยความมั่นใจ ความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่าง ๆทางการศึกษา ผลลัพธ์นี้ Johnson and Johnson (1989a) สรุปได้ 3ประเภท คือ ความพยายามที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และสุขภาพจิต ดังภาพประกอบที่ 4


ภาพประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ของการร่วมมือ


            ที่มา Johnson and Johnson (1994  the new circles of learning cooperation in the classroom and schoolมานพ ธรรมสาร ผู้แปล กรมวิชาการ 2546 : 32)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น