การประเมินตามสภาพจริง
สมศักดิ์ ภู่วิภาตวรรธน์ (2544 : 101-103) ได้กล่าวถึงการประเมินตามสภาพจริงว่า Wiggins (1989) ได้จำแนกคุณลักษณะของการประเมินตามสภาพจริงออกเป็น 4 ลักษระคือ
1.การปฏิบัติตามสภาพจริง (Performanee in the Fileld) การประเมินตามสภาพจริงออกแบบขึ้นเพื่อประเมินการปฏิบัติในสภาพจริง เช่น นักเรียนเรียนเรื่องการเขียนก็ต้องเขียนให้ผู้อ่าน มิใช่เรียนการเขียนแล้ววัดผู้เรียนด้วยเพื่อการให้ทดสอบวัดการสะกดคำ หรือตอบคำถามเกี่ยวกับการเขียน หรือนักเรียนเรียนวิทยาศาสตร์ก็ต้องให้นักเรียนทำการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำการค้นคว้าวิจัยหรือทำโครงงานแทนการสอบเพียงความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเนื้อหาวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามงานที่นักเรียนทำต้องเป็นงานที่สัมพันธ์กับชีวิตความเป็นจริง ท้าทายสติปัญญาที่ซับซ้อนหรือใช้ความรู้ที่อาศัยทักษะทางอภิปัญญา (Meta-Cognition skills) และต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน เพื่อใช้ในการพัฒนาความสามารถและค้นหาจุดเด่นของผู้เรียน
2.เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน (Criteria) เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินต้องเป็นการประเมิน “แก่นแท้” (Essentials) ของการปฏิบัติมากกว่าเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่สร้างขึ้นจากผู้หนึ่งผู้ใด โดยเฉพาะเกณฑ์ที่เป็นแก่นแท้นี้เป็นเกณฑ์ที่เปิดเผยและรับรู้กันอยู่ในโลกของความเป็นจริงของทั้งตัวนักเรียนเองและผู้อื่น ไม่ใช่เป็นเกณฑ์ที่เป็นความลับปกปิด อย่างที่เป็นการประเมินแบบดั่งเดิมที่ใช้อยู่ การที่ให้นักเรียนรู้ตัวว่า ต้องทำอะไรและมีเกณฑ์อย่างไร การเปิดเผยเกณฑ์การประเมินไม่ใช่เป็นการ “คดโกง” ถ้าภาระกิจนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติจริง แต่ถ้าภาระกิจที่ให้ทำเป็นการหาคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ การเปิดเผยคำตอบก่อนย่อมไม่ควรทำ การประเมินในสภาพจริงที่มีการเปิดเผยเกณฑ์ไว้ก่อนนั้นคือว่า การเรียนของผู้เรียนและการสอนของผู้สอนจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน เมื่อครูและนักเรียนต่างรู้ล่วงหน้าว่าการประเมินจะเน้นที่จุดใด ตัวอย่างเช่น รู้ว่าจะวัดความสามารถในการแสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนสามารถใช้หลักฐานอ้างอิงในการเชื่อมเรียงความ เพื่อชักจูงให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญในหัวข้อที่เขียนเรียงความกรณีนี้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะได้รู้ว่าจะส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างไร ในแต่ละภาระกิจจะมีเกณฑ์ซึ่งระบุถึงมาตรฐานของการปฏิบัติที่แจ่มชัดและโปร้งใส เกณฑ์จะสะท้อนมุมมองที่หลากหลายของภาระกิจที่มีความซับซ้อนมากกว่าจะย่นย่อหรือสรุปออกมาให้เห็นเพียงด้านเดียว เนื่องจากเกณฑ์เป็นเรื่องที่นำมาจากการปฏิบัติเกณฑ์จึงเป็นข้อชี้แนะสำหรับการสอนการเรียนและการประเมินที่สะท้อนให้เห็นเป้าหมายและกระบวนการศึกษาอย่างแจ่มชัด จึงทำให้ครูอยู่ในบทบาทของผู้ฝึก (Coach) และนักเรียนอยู่ในบทบาทของผู้ปฏิบัติ (Performers) พร้อมกับเป็นผู้ประเมินตนเอง (Self-Evaluators)
3.การประเมินตนเอง (Selt-Assessment) การประเมินตนเองมีความสำคัญมากต่อการปฏิบัติจริง (Authentie Task) โดยจุดประสงค์ของการประเมินตามสภาพจริง คือ 1) เพื่อช่วยให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในการประเมินงานของตนเอง ดดยเทียบกับวัดมาตรฐานทั่วไปของสาธารณชน (Publie Stmdard) 2) เพื่อปรับปรุงขยับขยายและเปลี่ยนทิศทางการดำเนินงาน 3) เพื่อริเริ่มในการวัดความก้าวหน้าของตนในแบบต่างๆ หรือจุดต่างๆอย่างที่ไม่มีการวัดเช่นนี้มาก่อน จะเห็นได้ว่าการประเมินตนเอง เป็นการทำงานที่ตนเป็นผู้ชี้ทำตนเองปรับปรุงจากแหล่งจูงใจของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์ในโลกของความเป็นจริง เนื่องจากมาตรฐานการปฏิบัติยึดถือเรื่องความก้าวหน้าเป็นสำคัญ ดังนั้นการทำให้กระบวนการปรับปรุงสิ่งต่างๆดียิ่งขึ้น ชัดเจนยิ่งขึ้น เหมาะสมมากขึ้น จึงถือเป็นหัวใจของการประเมินตามสภาพจริง เปิดโอกาสให้นักเรียนซึ่งอยู่ในระดับขั้นต้นของการพัฒนาสมรรถภาพ มีโอกาสเห็นรับรู้ และได้รับการชมเชยในการพัฒนาตนเอง
4.การนำเสนอผลงาน คุณลักษณะประการหนึ่งของการประเมินตามสภาพจริงนั้น นักเรียนมักได้รับการคาดหวังให้เสนอผลงานด้วยปากเปล่า (Oral Presentation) กิจกรรมการนำเสนอทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หยั่งรากลึก เนื่องจากนักเรียนได้สะท้อนความรู้สึกของตนว่ารู้อะไร และนำเสนอผู้อื่นเพื่อให้เข้าใจได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้แน่ใจว่านักเรียนได้เรียนรู้ในหัวข้อนั้นๆอย่างแท้จริง นอกจากนี้คุณลักษณะของการประเมินผลตามสภาพจริงเช่นนี้มีประโยชน์ตอบสนองจุดประสงค์ที่สำคัญอีกหลายประการคือ เป็นสัณญาณบ่งบอกว่างานของนักเรียนมีความสำคัญมากพอที่จะให้ผู้อื่นรับรู้และชื่นชมได้ เปิดโอกาสให้ผู้อื่น เช่น ครู เพื่อนนักเรียน ผู้ปกครองได้เรียนรู้ ตรวจสอบ ปรับปรุง และชื่นชมในความสำเร็จด้วยอย่างต่อเนื่อง และเป็นตัวแทนของการบรรลุถึงเป้าหมายในการวัดทางการศึกษา อย่างแท้จริงและมีชีวิตชีวา
จากการจำแนกคุณลักษณะของการประเมินตามสภาพจริงของ Wiggins มีความสอดคล้องกับ Herman,Aschbacher และ Winters,1992 ซึ่งได้จำแนกคุณลักษณะของการประเมินทางเลือกใหม่ไว้ 6 ประการหลักคือ
การประเมินทางเลือกใหม่นี้ผู้สอนต้องจัดโอกาสการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้แสดงออกใน
การปฏิบัติ คิดสร้างสรรค์ ผลิตผลงาน หรือกระทำบางสิ่งบางอย่างที่สัมพันธ์กับสิ่งที่เรียนต้องดึงหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดระดับสูงและใช้ทักษะในการแก้ปัญหา
งานภารกิจหรือกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนทำด้วย เป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับผู้เรียน
สิ่งที่เรียนต้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงในชีวิตประจำวันได้
ต้องใช้คนเป็นผู้ตัดสินการประเมินไม่ใช่เครื่องจักรตัดสิน (People not Maehine)
ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทใหม่ ทั้งในด้านการสอนและการประเมิน
จากคุณลักษณะ 6 ประการของการประเมินทางเลือกใหม่ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้สอนจำเป็นต้องปรับบทบาทใหม่ ทั้งด้านการสอนและการประเมิน โดยด้านการสอนต้องเปลี่ยนจากการยึดครูเป็นศูนย์กลางมายึดเป็นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และจากการใช้แบบทดสอบอย่างเดียวเพื่อประเมินผู้เรียน เป็นการใช้เครื่องมือประเมินอย่างหลากหลาย และไม่แยกการประเมินออกจากกิจกรรมการเรียนการสอน
สมศักดิ์ ภู่วิภาตวรรธน์ (2544 : 104) ได้สรุปว่าการประเมินตามสภาพจริงและการประเมินผลจากทางเลือกใหม่นั้น คุณลักษณะโดยรวมของการประเมินก็คือ ต้องจัดให้ผู้เรียนได้แสดงออกใช้ความคิดระดับสูง สิ่งที่เรียนต้องมีความหมายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ใช้คนเป็นผู้ตัดสินการประเมินไม่ใช้เครื่องจักรให้นักเรียนได้ประเมินตนเอง และมีเกณฑ์การประเมินที่เปิดเผยโปร่งใส นอกจากนั้นบทบาทของครูจะต้องเปลี่ยนใหม่โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการประเมินผลผู้เรียน และเสนอทักษะที่ควรประเมินตามสภาพจริงไว้ ดังนี้
ทักษะด้านความรู้ (Knowledge Skills) ได้แก่ ความรู้ในวิชาที่เรียน ความสามารถใช้ความรู้ภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ความสามารถระบุ วัด จัดระบบ และสื่อความรู้ได้ทั้งการพูด-การเขียน และมีความซาบซึ้งในทักษะที่จำเป็นในการวิจัย
ทักษะด้านความคิด (Thinking Skills) ได้แก่สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง สามารถประเมินตนเองตามความเป็นจริง สามารถหาวิธีแก้ปัญหาได้
ทักษะส่วนบุคคล (Personal Skills) ได้แก่ สามารถและต้องการเรียนรู้อย่างต่อเนื้องสามารถวางแผนและสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายทั้งเรื่องส่วนตัวและวิชาชีพ สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่น
คุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Attributes) ได้แก่ ความอดทน ความซื่อสัตย์ความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
ทักษะปฏิบัติ (Practical Skills) ได้แก่ สามารถรวบรวม สัมพันธ์ แสดง วิเคราะห์ และรายงานผลการศึกษาได้ สามารถประยุกต์ผลการทดลองสู่สถานกาณ์ใหม่ได้ สามารถทดสอบ สมมติฐานการทดลองได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น