การประเมินผลและการนิเทศ
Carr,ludy F and Harris, Douglas E. (2001:153)กล่าวสรุปไว้ว่า การพัฒนาวิชาชีพการนิเทศและการประเมินผลมีจุดหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ตามมาตรฐานและได้นำเสนอหลักการดำเนินการพัฒนาด้านวิชาชีพที่อิงมาตรฐาน 7 ประการดังนี้
หลักการที่ 1 ประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเกิดจากภาพลักษณ์ที่ดีด้านการเรียนการสอนการพัฒนาวิชาชีพตามระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานมีคำถามที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะบรรลุมาตรฐานดังต่อไปนี้
ใครจะรับผิดชอบมาตรฐานใด
แนวทางการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไรในชั้นเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีบทบาทอย่างไร
ระดับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ตั้งไว้เท่าใดใช้เกณฑ์ใดในการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของมาตรฐานและจะประเมินมาตรฐานอย่างไร
ใช้ข้อมูลใดบ่งบอกว่าบรรลุมาตรฐานและอะไรบ้างที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน
หลักการที่ 2 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพให้โอกาสผู้สอนได้สร้างองค์ความรู้และทักษะของตนเองเป้าหมายของการวางแผนการสอนมีขอบข่ายเนื้อหาที่จะปรับปรุงผลการเรียนรู้ผู้เรียนอย่างชัดเจนโดยเชื่อมโยงลำดับความสำคัญของการพัฒนาวิชาชีพกับแผนการสอนกรณีตัวอย่างสถานศึกษากำหนดแผนการพัฒนาประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ประเด็นคือการวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียนและการจัดทำแฟ้มสะสมงานการพัฒนาวิธีการวัดผลหลังจบหลักสูตรในแต่ละประเด็นเน้นการพัฒนาความสามารถของผู้สอนในด้านการสอนและประเมินการแก้ปัญหาโดยเปิดโอกาสให้จัดทำแผนพัฒนาวิชาชีพระยะยาว
หลักการที่ 3 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพใช้หรือเป็นตัวแบบกลยุทธ์การสอนที่ผู้สอนจะใช้กับผู้เรียนการสร้างตัวแบบเริ่มโดยเน้นที่มาตรฐานโดยคาดหวังว่าผู้สอนจะต้องสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำหนดโครงการพัฒนาวิชาชีพจึงต้องยึดมาตรฐานตัวอย่างเช่น การใช้ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาครู ครูต้องร่วมกันวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียนทบทวนสิ่งที่นำไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนรวมทั้งศึกษาวิจัยเนื้อหาสาระและวิธีการสอนตามความต้องการของนักเรียนสิ่งต่างๆเหล่านี้สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติการสอนที่ดีที่สุดในชั้นเรียนที่ยึดมาตรฐานเป็นเกณฑ์
หลักการที่ 4 ประสบการพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้หลักการสำคัญของยุโรปที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ดังนี้
มาตรฐานเน้นการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคนและทุกวัย
ผู้เรียนทุกคนสรรค์สร้างการเรียนรู้ใหม่ๆได้
ผู้เรียนเรียนรู้จากผู้อื่นและเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้โดยการค้นคว้าและการฝึกคิดทบทวน
การประเมินผล ก็ให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้
หลักการที่ 5 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมครูให้มีบทบาทเป็นผู้นำกล่าวคือครูต้องมีภาวะความเป็นผู้นำในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานบทบาทผู้นำอย่างเป็นทางการของครูคือบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาครูควรเป็นผู้ตัดสินใจในการคัดเลือกทีมงานวางแผนการสอนคัดเลือกเนื้อหาโดยเน้นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนครูควรเป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานกำหนดกลยุทธ์การสอนและการประเมินผลวิเคราะห์ผลงานของนักเรียน
หลักการที่ 6 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยงานการศึกษาอื่นการเชื่อมโยงด้วยมาตรฐานคือวิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบฉะนั้นองค์ประกอบและการตัดสินใจล้วนส่งผลต่อส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
หลักการที่ 7 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเพื่อประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานความมีประสิทธิผลวัดได้จากพัฒนาการของนักเรียนความมีประสิทธิผลรวมถึงความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนทุกคนและความเสมอภาค(ลดช่องว่างผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้เรียน) หรือทั้งสองอย่าง ผลการวางแผนการสอนจะต้องพิจารณาความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงโดยใช้ผลการเรียนรู้ของนักเรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผล จะเรียกสั้น ๆ ว่า ระบบการติดตามและประเมินผล นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้ดำเนินโครงการทราบว่าโครงการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ต้องการมากน้อยเพียงใด ดำเนินการประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพหรือไม่ ผลจากการติดตามและประเมินผล จะให้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ จุดแข็ง จุดอ่อน และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน ช่วยให้การบริหารแผนงานและโครงการมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ระบบการติดตามและประเมินผลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบริการแผนงานและโครงการ เพราะในวงจรบริหารแผนงานและโครงการ ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Implementation) การควบคุม (Control) และการประเมินผล (Evaluation) ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดขาดประสิทธิภาพก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบริหารแผนงานและโครงการทั้งหมด
ความหมายของการติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผล มีคำซึ่งมีความหมายเฉพาะตัวที่แยกจากกันได้ชัดเจน แต่ในการดำเนินงานหรือจัดกิจกรรมแล้วมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างใกล้ชิด จนทำให้เกิดความสับสนอยู่เสมอ คือ คำว่า ติดตาม (Monitoring) และคำว่า ประเมินผล (Evaluation) ทั้งสองคำดังกล่าวมีวิธีทำงานที่แตกต่างกัน คือ การติดตาม เป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะต่างจากการประเมินผลดังนี้
1. การติดตาม เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฏิบัติงานตามแผน ซึ่งมีการกำหนดไว้แล้ว เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ แก้ไข ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน หรือกำหนดวิธีการดำเนินงานให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ดังนั้น จุดเน้นที่สำคัญของการติดตาม คือ การปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อการตรวจสอบ ควบคุม กำกับ การปฏิบัติงานของโครงการ
2. การประเมินผล เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำผลมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ
3. การติดตาม จะเกิดขึ้นในขณะที่โครงการกำลังดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนการประเมินจะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของโครงการ นับตั้งแต่ก่อนตัดสินใจจัดทำโครงการ ในขณะดำเนินงานในช่วงระยะต่าง ๆ และเมื่อโครงการดำเนินงานเสร็จแล้ว หรือประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
4. การประเมินผล บางมิตินำมาใช้ในการประเมินความสำเร็จของโครงการ การว่าบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้หรือไม่ มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง
5. ความแตกต่างและส่วนที่ซ้ำซ้อนกันของการติดตามและประเมินผล คือ การติดตาม (Monitoring) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ได้มีการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการที่กำหนดได้อย่างไร ข้อมูลที่ได้จะนำมาประกอบเป็นเครื่องมือ ควบคุม กำกับ การดำเนินงานในขณะปฏิบัติโครงการโดยตรง ทั้งในด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) และด้านผลผลิต (Output)สำหรับ การประเมินผล (Evaluation) มีขอบข่ายกว้างขวาง ขึ้นอยู่ว่าจะประเมินในขั้นตอนใดของโครงการ เช่น ก่อนเริ่มโครงการ ขณะดำเนินโครงการซึ่งอาจดำเนินการเป็นช่วง เป็นระยะต่าง ๆ เช่น ทุก 3 เดือน ทุก 6 เดือน ทุกปี ประเมินเมื่อโครงการดำเนินงานไประยะครึ่งโครงการ เป็นต้น หรือเป็นการประเมินผลเมื่อโครงการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น