วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning )

การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning )
D:การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพและการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่เป็นต้นการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศแต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(Content) จริยธรรม ละการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทำงานและชีวิตประจำวัน
          พระธรรมปิฎก (..ปยุตโต 2546 : 9-10) กล่าวว่า สังคมข่าวสารข้อมูลหรือสังคมสารสนเทศโลกมีข่าวสารข้อมูลแพร่กระจายกว้างขวางทั่วถึงรวดเร็วมาก ก็คิดว่าคนจะฉลาดคนจะมีปัญญาหากว่าไม่พัฒนาคนให้รู้จักรับและใช้ข้อมูลนั้น และกล่าวสรุปไว้ว่าจำแนกคนได้เป็นสามประเภท ดังนี้
          1.คนที่ตกเป็นเหยื่อ ในกรณีที่คนไม่พัฒนาสติปัญญาอย่างถูกต้องให้สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างแท้จริง และสามารถถือเอาประโยชน์จากข่าวสารข้อมูลได้ก็จะเป็นโทษอย่างมาก ข่าวสารข้อมูลจะกลายเป็นเครื่องมือล่อเร้าและหลอกลวงทำให้คนเป็นเหยื่อ
2.กลุ่มที่รู้เท่าทัน คนจำนวนมากมีความภาคภูมิใจว่าตนตามทันข่าวสารข้อมูล มีข่าวสารข้อมูลอะไรออกมาก็ตามทันหมด ปรากฏว่าตามทันทั้งนั้นแต่ไม่รู้เท่าทันและก็ถูกกระแสข่าวสารข้อมูลท่วมทับพัดพาไป กรณีเช่นนี้ถ้ามีปัญญารู้เท่าทันก็จะทำให้ดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสได้ เป็นผู้ที่ยืนหยัดตั้งหลักอยู่ได้
3.กลุ่มที่อยู่เหนือกระแสการรู้เท่าทันยังไม่พอควรที่จะสามารถทำได้ดีกว่านั้นอีกคือขึ้นไปอยู่เหนือกระแสเป็นผู้ที่สามารถนำเอาข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริงคนกลุ่มนี้สามารถจัดการกับกระแสโดยทำการเปลี่ยนแปลงในกระแสหรือนำกระแสให้เดินไปในทิศทางใหม่ที่ถูกต้อง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ (http://WWW.dlthailand.com/thima-khxng-khorngkar) อ้างอิงงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยว่าสาเหตุหลักส่วนหนึ่ง ของปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยคือการที่ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบ (Accountability) หลักสูตรและตำราเรียนของไทยไม่สอดคล้องกับ การพัฒนาทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 (21 st Century Skills ) ซึ่งมีผลทำให้การเรียนการสอน ตลอดไปจนถึงการทดสอบยังคงเน้น การจดจำเนื้อหามากกว่าการเรียนเพื่อให้ มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง อีกทั้งสภาพการจัดการศึกษาของ ประเทศไทยในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาในด้านคุณภาพของนักเรียน ปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งมีสาเหตุจาก การขาดครูหรือครูไม่ควบชั้น ไม่ครบสาระการเรียนรู้ ครูมีประสบการณ์หรือทักษะการเรียนรู้น้อย ขาดสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยและการเข้าถึงได้ลำบาก ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนน้อย กิจกกรมของโรงเรียนมีมาก ทรัพยากรที่มีกระจัดกระจายไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และการแก้ปัญหาต่างๆก็ทำได้ในวงจำกัด
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีกิจกรรมหลัก คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT)การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล(Distance Learning)เป็นการจัดการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนในทุกห้องเรียนแก้ปัญหา การขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กครูสามารถจัดการเรียนรู้ในทุกสาระได้อย่างมีประสิทธิภาพนักเรียนและครูได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยนักเรียนและครูมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาการนำเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Distance Learning) มายกระดับคุณภาพการศึกษาเป็น 2 รูปแบบได้แก่การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning viainformation Techology : DLIT) มาดำเนินงานโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพทางการศึกษาโดยมีการจัดสภาพและการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างครบถ้วนทั้งกระบวนการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการสร้างความรู้การลงมือปฏิบัติเนื้อหาตลอดจนสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนอันจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับประชาชนไทยทุกคนอันเป็นการดำเนินการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทและสนองพระราชดำริในการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล บทความไอที 24 ชั่วโมงวันที่ 25พฤศจิกายน  2016)  ได้เสนอบทความเรื่องการศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสรุปความว่าเทคโนโลยีที่โดดเด่นที่กำลังทำให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้นั้นคือ internet of Everything (IoE) IoEสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนมากกว่าในอดีตที่ผ่านมาเช่นนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในลอนดอนสามารถร่วมรับฟังการบรรยายจากสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารที่ทำให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนโดยข้อมูลการเรียนรู้และข้อมูลทั้งหมดจะต้องให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดให้ตลอดเวลาข้อมูลในสื่อการสอนต่างๆที่มีอยู่จะถูกนำมาใช้ร่วมกันในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลกระทบต่อวิธีการและสถานที่ที่ใช้ในการเรียนรู้ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูทำให้IoE มีความจำเป็นมากกว่าทักษะและจำนวนของผู้เชี่ยวชาญอีกทั้งการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นโดยIoE จะทำให้สามารถนำมาใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้เรียนสามารถออกแบบแบบฝึกหัดทดสอบเพื่อทดสอบจุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เรียนและผู้เรียนสามารถประเมินศักยภาพได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ IoE อยากสามารถเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาเช่นในประเทศออสเตรเลียนำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไปใช้ในโรงเรียนสอนผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายโดยเซ็นเซอร์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ภาษามือของผู้เรียนและใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนสมาธิสั้นด้วยการตรวจเช็คการทำงานของสมองและการให้รางวัลสำหรับผู้เรียนที่มีพัฒนาการเรียนที่ดีขึ้น
คณะกรรมการอิสระการศึกษา( กอปศ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาข่าวประชาสัมพันธ์วันที่ 4พฤษภาคม 2561) ได้นำเสนอ Digital Learning Platformแนวทางการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์และการใช้สื่อดิจิทัล เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ณ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาสรุปในเรื่องของการศึกษาสิ่งแรกที่ต้องกระทำคือปรับกระบวนทัศน์(Paradigm) ให้ชัดเจนชัยชนะเกิดขึ้นได้อยู่ที่ Big Data ซึ่ง Big Data  ในที่นี้ความหมายที่ถูกต้องคือข้อมูลที่เอามาวิเคราะห์ได้เอาไปใช้ประโยชน์ในการบริหารได้โดยสะดวกไม่ใช่หมายถึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  Big Data จิตวิทยาในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ ต้องออกแบบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากเรียนไม่ใช่ออกแบบอย่างที่เราต้องการต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในเพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยให้ความสนใจกับผู้ใช้ (User) และผู้เรียน (Learner)
กระทรวงศึกษาธิการต้องสร้างโจทย์และผู้เรียนอยากรู้อะไรที่ไม่เคยรู้และไม่เคยคิดว่าจะมีทางทำได้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนฐานสำคัญ 5 ด้านได้แก่
          1 Digital  Infrastructure การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ดำเนินการโครงการเน็ตประชารัฐเข้าถึงพื้นที่ระดับชุมชน
          2 คนกับดิจิทัล ต้องมีการฆ่าคนในระดับต่างๆการศึกษาต้องจัดคู่กับความต้องการของด้านแรงงานให้เหมาะสมและมีความต้องการคนทำงานที่มีคุณสมบัติอย่างไรและด้านใดบ้างเพราะจะเห็นได้ว่าในบางธุรกิจเช่นธุรกิจธนาคารหรืออุตสาหกรรมคนเริ่มถูก AI เข้ามาแทนที่
          3 Big Data ในภาครัฐต้องมีการบูรณาการ ข้อมูลระหว่างกันเพื่อนำมาวิเคราะห์ออกแบบและวางแผนด้านการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตกำลังคนในระบบการศึกษาตอบโจทย์ความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นต้น
          4 Cyber Security ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
          5 internet of things( IoT) มหาวิทยาลัยต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี iot อย่างเร่งด่วน
อติพร เกิดเรือง (2560) ได้เสนอผลการศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล (วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 173 - 184 ) สรุปดังนี้
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมในยุคดิจิทัลมี 4 องค์ประกอบหลักคือ
1.1 การเรียนรู้เกี่ยวกับดิจิทัล
1.2 การคิดสร้างสรรค์
1.3 การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
1.4 ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
การเรียนรู้จากจุดเดิมสู่ยุคดิจิทัลต้องจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการทำงานและการดำรงชีวิตเน้นการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มากที่สุดผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ตามหลักสูตรและการวัดผลประเมินผลพัฒนาการมากกว่าการวัดผลสัมฤทธิ์
 3 การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลต้องคำนึงถึงการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างสรรค์ปรับแต่งการเรียนรู้การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเป็นการใช้เครือข่ายออนไลน์การจัดการเรียนรู้สร้างสถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนพบประสบการณ์จริงเนื้อหาการเรียนรู้ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์สามารถสร้างองค์ความรู้แบ่งปันความรู้และเนื้อหาสารเครือข่ายออนไลน์และส่งเสริมความรู้ในเรื่องของการทำงานมากขึ้น
            Learning Object คือ สื่อการเรียนรู้ดิจิตอล ที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ โดยแต่ละเรื่อง จะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้           Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย และสามารถนำมาใช้ใหม่ (ใช้ซ้ำ) ได้

ลักษณะสำคัญของ Learning Object
1.ลักษณะสำคัญของ Learning Object
                หน่วยของเนื้อหา(ดิจิตอล) ที่ได้รับการออกแบบตามแนวคิดใหม่ จากหน่วยขนาดใหญ่ เป็นหน่วยขนาดเล็กหลายหน่วย (smaller units of learning) มุมมองการนิยามหน่วยเนื้อหาของ Learning Objects ดังรูปที่ 1.1
                 หน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (LO) มีเนื้อหาสมบูรณ์ในตัวเอง (self-contained) เป็นอิสระจากกัน
               หน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (LO) สามารถนาไปใช้ซ้า (reusable) ได้ในหลายโอกาส (หลายบทเรียน หลายวิชา)
               หน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (LO) สามารถนามาเชื่อมโยงกันเป็นหน่วยเนื้อหาขนาดใหญ่ขึ้นตามลาดับจนเป็นรายวิชาหรือหลักสูตร


 สามารถกาหนดข้อมูลอธิบายหน่วยเนื้อหาแต่ละหน่วย (tagged with metadata) เพื่ออานวยความสะดวกในการค้นหา
2. เป้าหมายในการผลิต Learning Object คุณภาพสูง ซึ่งมีคุณลักษณะต่อไปนี้
 เนื้อหา กิจกรรม การนาเสนอเหมาะสมกับผู้เรียน (อายุ ความสนใจ ความรู้เดิม) ถูกต้อง มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ผู้เรียนมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ลาดับการนาเสนอเนื้อหาและกิจกรรมเอื้อให้เกิดการเรียนรู้
 ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม ไม่เพียงแต่รับข้อมูล (สืบเสาะค้นหา แก้ปัญหา แปลความหมายข้อมูล พัฒนา สร้าง นาเสนอชิ้นงาน)
 มีการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถรับข้อมูลเพิ่มเติม และ feedback ที่เหมาะสมและมีประโยชน์ ผู้เรียนเรียนรู้จากสถานการณ์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง และใช้ความรู้ในบริบทที่หลากหลาย                                          
การประยุกต์ใช้ Learning Object
            การประยุกต์ใช้ Learning Object ในการเรียนการสอนและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อดิจิทัลของครูผู้สอน
           ในปีพุทธศักราช 2548 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)เริ่มต้นพัฒนาสื่อดิจิทัลตามโครงการความร่วมมือไทย – ออสเตรเลียในการพัฒนาสื่อดิจิทัลประกอบหลักสูตร (Schools Digital Curriculum Resources Initiative Thailand : SDCRIT) ผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ทำให้เกิดการถ่ายทอดประสบการณ์ในการผลิตสื่อดิจิทัลระหว่างสสวท. และ The Learning Federation (TLF) ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
            ประเทศออสเตรเลีย นำมาสู่กรอบแนวคิด 2 ประการที่มีผลต่อแนวทางในการพัฒนาสื่อดิจิทัลของสสวท. ต่อมา กล่าวคือ
                    1. การพัฒนาสื่อในลักษณะ เลิร์นนิง อ็อบเจกต์(learning object) หรือสื่อ LO ซึ่งเป็นสื่อดิจิทัลที่ออบแบบให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ จะช่วยสนับสนุนให้ครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากมีสื่อที่สอดคล้องกับแนวคิดหลักย่อย ๆ ภายในสาระการเรียนรู้แต่ละเรื่องในหลักสูตร จึงสามารถเลือกสรร LO มาใช้ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ ในชั้นเรียนได้อย่างหลากหลาย ผู้สอนสามารถค้นหาและเข้าถึงสื่อผ่านระบบดิจิทัล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงทั่วโลก หรือเครือข่ายอินทราเน็ตที่เชื่อมโยงภายในสถานศึกษาได้                         

                2. การพัฒนาสื่อที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความหมายอาศัยศาสตร์และศิลป์แห่งการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้(instructional design) ในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเชื่อมโยงกับโลกนอกห้องเรียน ท้าทายความสนใจของผู้เรียนตามระดับพัฒนาการส่งผลให้ผูเรียนเกิดความรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ่งและยั่งยืน คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่กล่าวมานี้สามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ในหลายรูปแบบ และไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ดิจิทัลเสมอไป อย่างไรก็ตาม ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้การพัฒนาสื่อในรูปแบบสื่อดิจิทัลเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพสูงมากที่จะสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ เช่น การสร้างชิ้นงาน (ต่อวงจรไฟฟ้า) การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (การผสมพันธุ์สิ่งมีชีวิต) การวิเคราะห์ข้อมูล(การรวบรวมข้อมูลจากกราฟข้อความ ภาพเพื่อไขปริศนา) ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ และทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตนเอง โดยข้อมูลตอบกลับที่ผ่านการออกแบบไว้แล้วอย่างรอบคอบ


ปัญหาของ Learning Object
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อดิจิทัลของครูผู้สอน
            ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษา การศึกษาสภาพปัญหาของการใช้ Learning Object คณิตศาสตร์ของ สสวท. และความรู้สึกของครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ที่มีต่อ Learning Object คณิตศาสตร์ของ สสวท.” ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 จำนวน 90 ท่าน สรุปผลได้ดังนี้
                1. จำนวนครูผู้สอนประมาณครึ่งหนึ่งยังไม่รู้จัก Learning Object แต่เมื่อมีการแนะนำให้รู้จัก Learning Object พบว่าครูมีความรู้สึกที่ดีต่อ Learning Object คณิตศาสตร์ และจากการศึกษายังพบอีกด้วยว่าครูมีความสนใจและเห็นว่า Learning Object คณิตศาสตร์มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ช่วยให้นักเรียนสนใจและสร้างความเข้าใจเนื้อหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้แต่การที่ Learning Object คณิตศาสตร์ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร น่าจะมาจากการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สื่อ Learning Object ของ สสวท. ยังไม่ดีพอ ครูขาดความมั่นใจในการใช้อุปกรณ์นำเสนอข้อมูล เช่น โปรเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้การขาดแคลนอุปกรณ์การนำเสนอข้อมูลเช่น โปรเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์ ก็เป็นปัญหาต่อการใช้ Learning Object คณิตศาสตร์เช่นเดียวกัน
                2. สำหรับด้านตัวสื่อ Learning Object จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาในระดับเล็กน้อยสาเหตุที่ครูยังมองว่ายังมีปัญหาน่าจะมาจากการที่สื่อยังไม่มีข้อแนะนำที่ชัดเจน หรือขาดคู่มือการใช้งาน ซึ่งยังเป็นข้อกังวลของครูที่คิดว่าถ้านำไปใช้แล้วจะเกิดปัญหาระหว่างการใช้งาน ซึ่งอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง มีข้อสังเกตว่าครูซึ่งส่วนใหญ่เป็นครูที่มีประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 5 ปีมองว่า Learning Objectช่วยสร้างความสนใจในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้ซึ่งสอดคล้องกับข้อดีของสื่อ Learning Object ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนักเรียนระดับประถมศึกษาที่ชื่นชอบเกมคอมพิวเตอร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
                3. ด้านความพร้อมของวัสดุ/อุปกรณ์ จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาในระดับปานกลาง ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้Learning Object เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดพบว่าข้อที่เป็นปัญหามากที่สุดคือความพร้อมของโปรเจคเตอร์และคอมพิวเตอร์สำหรับการนำเสนอข้อมูล ซึ่งโรงเรียนสามารถหาแนวทางแก้ปัญหาได้ ไม่ว่าจัดหางบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ให้มีใช้อย่างเพียงพอ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงศึกษาธิการจัดหางบประมาณมาสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถจัดซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ได้เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนที่นับวันสื่อ ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น เพราะสะดวกและ
ประหยัดเวลาในการจัดเตรียมสื่อและการสอนได้
                4. ด้านความพร้อมของครูในการใช้สื่อเทคโนโลยี จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาในระดับปานกลาง ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ Learning Object เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดพบว่าข้อที่เป็นปัญหามากที่สุดคือความสามารถวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ให้กันักเรียนโดยใช้ Learning Object ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางมีปัญหามาก ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของครูในเรื่องของความต้องการให้มีคู่มือการใช้งาน ซึ่งในคู่มืออาจจะต้องมีตัวอย่างแผนการสอนคณิตศาสตร์ที่ใช้ Learning Object ให้กับครูด้วย ลำดับถัดมาที่ควรพิจารณาคือความสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น โปรเจคเตอร์ และคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอข้อมูลซึ่งถือ
ว่ามีปัญหาระดับปานกลางค่อนไปทางมีปัญหามาก ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องควรได้ตระหนัก ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์เหล่านี้ แต่ถ้าครูยังมีปัญหาไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ได้ การส่งเสริมให้ครูใช้สื่อ Learning Object ก็จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้บริหารควรให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายโสตทัศนอุปกรณ์จัดอบรมการใช้อุปกรณ์แก่ครูในโรงเรียน

                5. ความรู้สึกของครูที่มีต่อ Learning Object คณิตศาสตร์ของครูผู้สอนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 อยู่ในระดับมาก ซึ่งถือว่าดีมากในการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สสวท. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 และโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 จะได้สนับสนุนและส่งเสริมให้ครูได้ใช้สื่อ Learning Objectคณิตศาสตร์ในการเรียน เพียงแต่หน่วยงานที่กล่าวมาข้างต้นจะจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ให้มีความพร้อมรวมทั้งจัดหาสื่อ Learning Objectคณิตศาสตร์พร้อมคู่มือการใช้งานแก่ครูผู้สอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น