วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
Jon Wiles (2009: 56 - 57) สรุปว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) หมายถึง สภาวะ แวดล้อมที่ อยู่รอบๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ในด้านรูปธรรมเป็นสภาพแวดล้อมทาง กายภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่นขนาด การวางผัง แสง ที่นั่ง ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก ห้องเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หรือทางภาษา โดยสามารถใช้อาคารในการจัด พื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะ จัดสื่อที่หลากหลาย สําหรับนักเรียนแต่ละคน และเป็นสื่อ บูรณาการสะดวกเหมาะสมกับหลักสูตร เป็นศูนย์การเรียนรู้สื่อประสม เป็นต้น สภาพแวดล้อม ที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทางจิตใจหรือบรรยากาศทางจิตใจ ส่งผลต่อ ผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ โดยสรุปสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การจัดการเรียนรู้และการ จัดการชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ คือมีความรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
Bob Pearlman (http://go.solution-tree.com 21stcenturyskills อ้างถึงใน นฤมล ปภัสสรานนท์ 2558: 67-68) ได้นําเสนอบทความเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนทักษะใน ศตวรรษที่ 21 โดยตั้งคําถามว่า"ความรู้และทักษะอะไรบ้างที่จําเป็นสําหรับ นักเรียนในศตวรรษที่ 21" และ ควรตอบคําถามตามประเด็นคําถามต่อไปนี้
อะไร คือ หลักสูตร การเรียนการสอน และกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สิ่งที่ใช้ ประเมินผลการเรียนรู้ทั้งระดับโรงเรียน และระดับชาติ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของ นักเรียน การมีส่วนร่วมของนักเรียน และการบริหารตนเอง
เทคโนโลยีจะสามารถสนับสนุนการเรียนการสอน หลักสูตรและการประเมินผลของศตวรรษ ที่ 21 เพื่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างไร
อะไร คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ (ห้องเรียนโรงเรียนและโลกแห่งความจริง) ที่ ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จากการศึกษาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Environments) จาก เว็บไซด์ http://www.21stcenturyskills.org/route2v ได้นําเสนอสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้
ว่า คือ ระบบสนับสนุนที่จัดสรร เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการ เพื่อ การเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคนและสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือและชุมชนที่ สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนและนักการศึกษา เพื่อที่จะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 นี้ ตาม ความต้องการของทุกคน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นระบบ ที่สอดคล้องกันได้อย่างลง ตัว คือ
สร้างข้อปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ ให้การสนับสนุนจากผู้คนโดยรอบและสภาพแวดล้อมทาง กายภาพที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ผลเชิงทักษะในศตวรรษที่ 21
สนับสนุน ชุมชน การเรียนรู้ระดับ มืออาชีพที่ช่วยให้ นักการศึกษา ทํางานร่วมกันแบ่งปันวิธี ปฏิบัติที่ดีที่สุดและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ใน บริบทของ ศตวรรษที่ 21 (เช่นผ่านโครงการหรืองานอื่น ๆ ที่ นําไปใช้
ช่วยให้เข้าถึง เครื่องมือการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเทคโนโลยีและทรัพยากร
จัดสรร ให้ การออกแบบ เชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศตวรรษที่ 21สําหรับการ เรียนรู้แบบ กลุ่มทีมงานและของแต่ละบุคคล
รองรับ ชุมชนที่มี การขยายตัวและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศในการเรียนรู้ทั้ง การเรียน แบบเผชิญหน้า face to face และ ออนไลน์

กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Classroom Instruction That Works) Marzano (2012) ได้เสนอกลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ส่วน คือ
1. การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
2. การช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจ (Helping students Develop Understanding)
3. การช่วยให้ผู้เรียนให้ขยายและนําความรู้ไปใช้ (Helping students Extend and Apply Knowledge)
กลวิธีที่ เป็นพื้นฐานสําคัญ เมื่อผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จะทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง
กลวิธีที่ เป็นการช่วยผู้เรียนในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดการกับความรู้ จัดลําดับและ เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ตรวจสอบความรู้และสร้างมโนทัศน์ (Concept)ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวน การบูรณาการและเรียนรู้กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ 1) การสร้างขั้นตอนที่
จําเป็นในแต่ละกระบวนการหรือทักษะ 2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติ อย่างหลากหลาย 3)ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา
กลวิธีที่ คือ ช่วยผู้เรียนขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้มากกว่า คําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายขอบข่ายความรู้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ ในชีวิตจริงเป็นบริบทแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) มีความเป็นเหตุเป็นผล จึงเป็นการเรียนรู้ อย่างมีความหมาย


สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์: สังเคราะห์แนวคิดจากบริบทไทย
โดยทั่วไป แนวคิดเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้’ (Learning Environment) มักเกี่ยวข้องกับการพัฒนาปรับปรุงบรรยากาศในชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน อีกคำหนึ่งที่เห็นใช้กันมากคือระบบนิเวศการเรียนรู้’ (Learning Ecosystem) มีความหมายที่ขยายขอบเขตมากกว่าพื้นที่โรงเรียน แต่ครอบคลุมไปถึงสถานที่ทำงาน ชุมชน ซึ่งแวดล้อมด้วยทรัพยากร ผู้คน และเทคโนโลยี ซึ่งล้วนมีส่วนในการสนับสนุนให้เกิดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งแง่บวกและแง่ลบ
อย่าง ไรก็ดี มโนทัศน์ของคำว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มักถูกโน้มนำให้นึกถึงเพียงแค่การปรับปรุงลักษณะทางกายภาพดังเช่นอาคารสถาน ที่หรือสิ่งที่จับต้องได้ ซึ่งไม่เพียงพอในการทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรค ต่อการเรียนรู้สร้างสรรค์ ดังนั้นการขยับมุมมองไปยังมิติเชิงวัฒนธรรมรวมถึงระบบโครงสร้างการศึกษา แล้วนำมาทดลองสังเคราะห์ จึงพอจะสรุปแนวคิดเบื้องต้นว่าด้วยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ได้ ดังแผนภาพ




จากรูป สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ ควรมีองค์ประกอบที่จำเป็น 6 ประการได้แก่
1. แหล่งเรียนรู้หรือพื้นที่การเรียนรู้ ที่มีทรัพยากรหลากหลายและเพียงพอตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ นี่คือมุมมองในเรื่องพื้นที่กายภาพซึ่งคุ้นเคยกันดี
2. เนื้อหาสาระ หรือ Content แบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือองค์ความรู้ของแหล่งเรียนรู้นั้นๆ และส่วนที่สองคือสื่อการเรียนรู้ เป็นตัวกลางที่นำองค์ความรู้ไปสู่ผู้เรียนหรือผู้ใช้
3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ในลักษณะที่เป็นทั้งโครงการ อีเว้นท์ และการรณรงค์ ซึ่งควรเน้นการสร้างประสบการณ์แก่ผู้ใช้ในลักษณะของการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้หรือบทเรียนจากการลงมือทำไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว
4. ความหลากหลาย หมายถึงการยอมรับในความแตกต่างทั้งความคิดและวิถีชีวิต เคารพในอัตลักษณ์ย่อยไม่ให้ถูกกลืนหาย โดยไม่จำเป็นต้องแสวงหาความเป็นหนึ่งเดียวเสมอไป
5. ความคิดสร้างสรรค์ โดยส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดเชิงตรรกะ คิดเป็นระบบ และความมีเหตุผล ตลอดไปจนถึงการคิดนอกกกรอบ การคิดแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดสร้างสรรค์ที่สามารถต่อยอดจนเกิดเป็นนวัตกรรม
6. เสรีภาพในการแสดงออกทั้งการคิดการเขียนและการพูด โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบในการใช้เสรีภาพที่จะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นหรือคนส่วนใหญ่
          อุปสรรคของการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สร้างสรรค์ในสังคมไทยนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้อยู่ที่องค์ประกอบสามประการแรก (แน่นอนว่ามิใช่หมายความว่าองค์ประกอบเหล่านี้ไม่มีปัญหาในเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในการจัดการความรู้เพื่อสร้างต้นแบบหรือแนวปฏิบัติที่ดี การเข้าถึง และผลกระทบทางสังคม) แต่อยู่ที่องค์ประกอบสามประการหลังซึ่งอาจเรียกรวมกันไปว่า บริบทที่ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างสรรค์

          กล่าว สำหรับการเรียนรู้ ปัญหาระดับรากฐานที่สุดคือสังคมไทยขาดการส่งเสริมให้คนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดเป็นระบบและคิดอย่างมีเหตุผล หรือที่พูดกันจนแทบจะเป็นที่ยอมรับกันไปแล้วว่าเด็ก (นักเรียน) ไทยคิดไม่เป็น ซึ่งทักษะการคิดดังกล่าวจะฝึกฝนเรียนรู้กันได้ก็ต่อเมื่อระบบการศึกษามี บรรยากาศเปิดกว้าง ใช้อำนาจน้อย ลดการเรียนรู้เชิงเทคนิคและการท่องจำ ให้น้ำหนักกับการสร้างทักษะการเรียนรู้และปรับตัวของผู้เรียนให้สามารถพัฒนา ตนเองได้ ย้ายความรู้ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ครูผู้สอนไปสู่ผู้เรียน ด้วยความเชื่อว่านักเรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยครูทำหน้าที่เป็นเพียงผู้กระตุ้นและคอยให้คำแนะนำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น