การแสดงบทบาทสมมุติ
การแสดงบทบาทสมมุติ
เป็นการแสดงออกด้วยท่าทางโดยไม่มีบทพูดผู้แสดงจะต้องมีความเชื่อมั่นต่อบทบาทที่แสดง
คือ เชื่อว่าบทบาทที่ตนเองแสดงเป็นเรื่องจริง ผู้แสดงจะต้องมีความพร้อมที่จะใช้ร่างกาย
อารมณ์ ความคิดและจิตใจ หรือมีความพร้อมที่จะนำประสาทสัมผัสทั้ง 5
มาใช้ในการแสดงให้
ประเภทการแสดงบทบาทสมมุติ
1)
การแสดงอบบาทสมมุติแบบเตรียมบทบาทแล้ว
2)
การแสดงบทบาทสมมุติโดยฉับพลัน
3)
การแสดงบทบาทสมมุติจากสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น
การสมมุติเป็นกระบวนการสำคัญที่ผู้แสดงต้องสร้างอารมณ์ให้สะท้อนถึงความเป็นตัวละครได้อย่างสมจริง
โดยผู้แสดงต้องสมมุติว่า
ถ้าตนเองเป็นตัวละครที่สวมบทบาทอยู่นั้นจะทำอย่างไรต่อสถานการณ์ที่ตนกำลังเผชิญอยู่
หลักการแสดงบทบาทสมมุติ
1)
การสมมุติ คือ
การที่ผู้แสดงจะต้องถ่ายทอดบุคลิกและนิสัยใจคอของตัวละครออกมาให้สมจริงมากที่สุด
โดยสมมุติว่าถ้าผู้แสดงเป็นตัวละครตัวนั้นแล้ว จะทำอย่างไรต่อสถานการณ์จำลองที่กำหนดขึ้น
2)
สถานการณ์จำลอง ผู้แสดงจะต้องเข้าใจสถานการณ์จำลองว่าถ้าเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์อย่างนี้แล้ว
ตัวละครต้องทำอะไร และมีเหตุผลอย่างไร
3)
จินตนาการ ผู้แสดงต้องใช้จินตนาการให้ถูกต้อง
โดยฝึกจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้คนที่อยู่รอบ ๆ ข้างในชีวิตประจำวัน
และเปรียบเทียบสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว
4)
การสร้างความเชื่อ ผู้แสดงจะต้องทำให้คนดูเชื่อว่า
การแสดงที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าสมจริง
5)
การสื่อสารกับผู้อื่น
ผู้แสดงจะต้องทำให้คนดูเข้าใจความหมายและเหตุผลของตัวละครที่สวมบทบาทอยู่นั้นและมีความรู้สึกร่วมกับการแสดง
6)
การสร้างสมาธิ ผู้แสดงต้องไม่ประหม่าและต้องทำตัวสบาย ๆ
เหมือนไม่มีใครมาสนใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้แสดงไม่สนใจคนดู
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก
:
เอกรินทร์
สีมหาศาล และคณะ. ศิลปะ ป.3. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น