วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning : RBL)

การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning : RBL)
1. ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2538 : 47) ให้ความหมายของการวิจัยว่า เป็นกระบวนการสืบหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม การสังเกตการบันทึก การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์และตีความหมายเพื่อให้ได้เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาสร้างเป็นข้อสรุปเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์นั้น ๆ และนำผลที่ได้มาพัฒนาหรือสร้างกฎ ทฤษฎี ที่ทำให้ควบคุม หรือทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้
เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ (2539 : 27-29) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานไว้ว่าเป็นการนำแนวคิดการวิจัยมาเป็นพื้นฐานในการเรียนการสอนและผสมผสานวิธีการสอนแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง จากตำราเอกสารสื่อต่าง ๆ คำบอกเล่าของอาจารย์ รวมทั้งจากผลการวิจัย และงานวิจัยต่าง ๆ ตลอดจนทำรายงานหรือทำวิจัยได้
อมรวิชช์ นาครทรรพ (2546 : 12) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน ไว้ว่าเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าและค้นพบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในเรื่องที่ศึกษาด้วยตนเอง โดยอาศัยกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบเป็นเครื่องมือสำคัญ
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม (2547 : 37) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน ไว้ว่า เป็นการสอนเนื้อหาวิชา เรื่องราวกระบวนการทักษะ และอื่น ๆ โดยใช้รูปแบบการสอนชนิดที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการสอนนั้น โดยอาศัยพื้นฐานกระบวนการวิจัย
ทิศนา แขมมณี (2548 : 3) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานหรือใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ก็คือ การจัดให้ผู้เรียนและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย ในการดำเนินการแสวงหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้
จรัส สุวรรณเวลา (2546 : 16) ได้ให้ความหมายของการวิจัยว่า เป็นการได้มาซึ่งความรู้ที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในแต่ละสาขาและกระบวนการวิจัยยังทำให้ผู้วิจัยได้มีการวางแผนเตรียมการและดำเนินการอย่างเป็นระบบจนค้นพบความจริง สร้างความรู้ใหม่ที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
นอกจากนี้ การวิจัยได้พัฒนาคุณลักษณะให้ผู้วิจัยต้องมีการคิดวิเคราะห์มีความคิดสร้างสรรค์ มีความ
ซื่อสัตย์ มีความอดทน นับได้ว่าการวิจัยมีบทบาทและความสำคัญทั้งในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ การพัฒนาคนและพัฒนางานและส่งผลไปสู่การพัฒนาประเทศ

ตาราง 1 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบครูใช้ผลการวิจัย
แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน
บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
แนวทางที่ 1 ครูใช้ผลการวิจัย
ในการเรียนการสอน
ครูใช้ผลการวิจัยประกอบ
การเรียนการสอนเนื้อหาสาระ
ต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนขยาย
ขอบเขตของความรู้ ได้ความรู้
ที่ทันสมัยและคุ้นเคยกับแนวคิด
การวิจั

ครูสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เกี่ยว
ข้องกับสาระที่สอน
ครูศึกษางานวิจัย/ข้อมูลข่าว
สาร/องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ
เนื้อหาสาระ
ครูนำผลการวิจัยมาใช้
ประกอบเนื้อหาสาระที่สอน
เสริมให้ผู้เรียนได้ความรู้เพิ่มขึ้น
เช่น ครูนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับ
เรื่องพืช หรือสุขภาพ มาเสริม
การเรียนรู้สาระดังกล่าว
ประยุกต์ใช้ในการเรียน
การสอน เช่น ครูอ่านผลการ
วิจัยเกี่ยวกับทฤษฎี
ความคาดหวังและนำมาใช้กับ
นักเรียน เป็นต้น
ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย/ความสำคัญของการ
วิจัย
ครูวัดและประเมินผลการ
เรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัยควบคู่กับ
การเรียนรู้สาระตามปกติ

เรียนรู้เนื้อหาสาระโดยมีผล
การวิจัยประกอบ ทำให้ผู้เรียน
คุ้นเคยกับเรื่องของ
การวิจัย การแสวงหาความรู้
การใช้เหตุผล ฯลฯ
อภิปรายประเด็นต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัย/ความสำคัญ
ของการวิจัย




ตาราง 2 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบผู้เรียนใช้ผลการวิจัย
แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน
บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
แนวทางที่ 2 ผู้เรียนใช้ผลการ
วิจัยในการเรียนการสอน
การให้ผู้เรียนสืบค้นและ
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
สาระที่เรียนด้วยตนเองสาระที่เรียนด้วยตนเอง
ครูสืบค้นแหล่งข้อมูลและ
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
สาระที่สอน
ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ
สนใจใฝ่รู้ เกิดข้อสงสัย อยากรู้
อยากแสวงหาคำตอบของข้อ
สงสัย
ครูให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่ง
ข้อมูลและงานวิจัย
ที่ผู้เรียนจะต้องสืบค้น
เพื่อการศึกษาหาความรู้ รวมทั้ง
คัดเลือกงานวิจัยที่เหมาะสมกับ
วัยของผู้เรียน
ครูอาจจำเป็นต้องสรุปงาน
วิจัยให้เหมาะสมกับระดับของผู้
เรียน
ครูแนะนำวิธีการอ่าน/ศึกษาวิเคราะห์รายงานวิจัยตามความ
เหมาะสมกับระดับผู้เรียน ได้
แก่ องค์ประกอบต่าง ๆ ของ
งานวิจัย วัตถุประสงค์ วิธี
ดำเนินการวิจัยขอบเขต ข้อ
จำกัดของผลการวิจัย อภิปราย
ผล การวิจัยการอ้างอิง ฯลฯ
ครูเชื่อมโยงสาระของงานวิจัย
กับสาระของการเรียนการสอน
ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย/ความสำคัญของการ
วิจัย
ครูวัดและประเมินผลทักษะ
การอ่านรายงานวิจัยและการ
เรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/
กระบวนการวิจัย ควบคู่ไปกับ
การเรียนรู้สาระตามปกติ

แสวงหา สืบค้นข้อมูลเกี่ยว
กับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาระ
ที่เรียนรู้ตามความสนใจของตน
ศึกษารายงานวิจัยต่าง ๆ
โดยฝึกทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็น
เช่น ทักษะการอ่านงานวิจัย
การสรุปผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัย
การอภิปรายผลการวิจัย
นำเสนอสาระของงานวิจัย
อย่างเชื่อมโยงกับสาระที่กำลัง
เรียนรู้
อภิปรายประเด็นต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย/ความ
สำคัญของการวิจัย
ประเมินตนเองเกี่ยวกับทักษะ
การอ่านรายงาน และการเรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวน
การวิจัย


ตาราง 3 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบครูใช้กระบวนการวิจัย
แนวทางการใช้การวิจัย
ในการเรียนการสอน

บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
แนวทางที่ 3 ครูใช้กระบวน
การวิจัยในการเรียนการสอน
ครูใช้กระบวนการวิจัย
ซึ่งอาจจะเป็นบางขั้นตอนหรือ
ครบทุกขั้นตอนในการจัดการ
เรียนการสอน โดยพิจารณา
ตามความเหมาะสมกับสาระ
การเรียนการสอนและวัย
ของผู้เรียน

ครูพิจารณาวัตถุประสงค์และ
สาระที่จะให้แก่ผู้เรียนและ
วิเคราะห์ว่าสามารถใช้ขั้นตอน
การวิจัยขั้นตอนใดได้บ้างใน
การสอน ซึ่งอาจจะใช้กระบวน
การวิจัยบางขั้นตอนหรือครบ
ทุกขั้นตอน
ครูออกแบบกิจกรรมการเรียน
รู้ โดยใช้กระบวนการวิจัย/ขั้น
ตอนการวิจัยที่กำหนด
เพื่อการเรียนรู้สาระที่ต้องการ
ตามแผน
ครูดำเนินกิจกรรม โดยใช้
กระบวนการวิจัย/ขั้นตอนการ
วิจัยที่กำหนดในการสอน
ครูฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการ
ดำเนินการวิจัยให้แก่ผู้เรียน
(ทักษะการระบุปัญหา ให้คำ
นิยาม ตั้งสมมติฐาน คัดเลือก
ตัวแปรการสุ่มตัวอย่างประชา
กร การสร้างเครื่องมือ การ
พิสูจน์ ทดสอบ
การรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
สังเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย
การอภิปรายผล และการให้ข้อ
เสนอแนะ)
ครูสังเกตพฤติกรรมการเรียน
รู้ทักษะกระบวนการวิจัยของผู้
เรียน และพิจารณาว่าควรจะ
เสริมทักษะด้านใดให้กับผู้เรียน
ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและ
ผลการวิจัยที่เกิดขึ้น
ครูวัดและประเมินทักษะ
กระบวนการวิจัยควบคู่ไปกับ
ผลการเรียนรู้สาระตามปกติ

เรียนรู้ตามขั้นตอนของ
กระบวนการวิจัยที่ครูกำหนด
ฝึกทักษะกระบวนวิจัยที่จำ
เป็นต่อการดำเนินการตามขั้น
ตอนการวิจัยที่ครูกำหนด
อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับ
กระบวนการวิจัยที่ตนเองมี
ประสบการณ์ และผลการวิจัย
ที่เกิดขึ้น
ประเมินตนเองในด้านทักษะ
กระบวนการวิจัย และผลการ
วิจัยที่ได้รับ


ตาราง 4 บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัย
แนวทางการใช้การวิจัย ในการ
เรียนการสอน

บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
แนวที่ 4 ผู้เรียนใช้กระบวน
การวิจัยในการเรียนการสอน
ครูให้ผู้เรียนทำวิจัยโดยใช้
กระบวนการวิจัย (ครบทุกขั้น
ตอนในการทำวิจัย
เพื่อแสวงหาคำตอบ หรือความ
รู้ใหม่ตามความสนใจ
ของตน

ครูพิจารณาและวิเคราะห์วัตถุ
ประสงค์และสาระการเรียนรู้ว่า
มีส่วนใดที่เอื้อให้ผู้เรียน
สามารถทำวิจัยได้
ครูออกแบบกิจกรรมการเรียน
รู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำวิจัย
ได้
ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ
สนในใฝ่รู้
ครูฝึกทักษะกระบวนการวิจัย
ให้แก่ผู้เรียน (การระบุปัญหา
วิจัย วัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน
การออกแบบการวิจัย สร้าง
เครื่องมือ
ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและ
ผลการวิจัยที่เกิดขึ้น
ครูวัดและประเมินทักษะ
กระบวนการวิจัยควบคู่ไปกับ
ผลการเรียนรู้สาระตามปกติ

คิดประเด็นวิจัยที่ตนสนใจ
ฝึกทักษะกระบวนการวิจัยที่
จำเป็นต่อการดำเนินการ เช่น
การระบุปัญหาวิจัยและวัตถุ
ประสงค์ การตั้งสมมติฐาน
การออกแบบการวิจัย การสร้าง
เครื่องมือ ฯลฯ
ปฏิบัติการวิจัยตามกระบวน
การวิจัยที่เหมาะสม
บันทึกความคิด และประสบ
การณ์ รวมทั้งข้อสังเกตต่าง ๆ
ที่ตนประสบจากการดำเนินงาน
อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับ
กระบวนการวิจัย และผลการ
วิจัยที่เกิดขึ้น
ประเมินตนเอง ด้านทักษะ
กระบวนการวิจัย


บทบาทครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการวิจัย
ทิศนา แขมมณี (2547 : 56) กล่าวถึงกระบวนการวิจัยว่ามีด้วยกัน 6 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา ขั้นที่ 2 การตั้งสมมติฐาน ขั้นที่ 3 พิสูจน์ทดสอบสมมติฐาน ขั้นที่ 4 รวบ
รวมข้อมูล ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล และขั้นที่ 6 สรุปผล ซึ่งในการจัดการเรียนการสอน
โดยเน้นกระบวนการวิจัยหรือใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้โดยทั่ว ๆ ไป ครูมักจัดให้ผู้
เรียนดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยทั้ง 6 ขั้น แต่จุดอ่อนที่พบก็คือ ครูมักไม่สอนหรือฝึกทักษะ
กระบวนการที่จำเป็นต่อการดำเนินการให้แก่ผู้เรียน ตัวอย่างเช่น ครูมักมอบหมายให้ผู้เรียน
ไปสืบค้นข้อมูลความรู้ หรือไปเก็บข้อมูล หรือสรุปข้อมูล โดยไม่ได้สอนหรือฝึกทักษะหรือสิ่งที่จำ
เป็นต่อการทำสิ่งนั้น จึงได้กล่าวได้ว่าเป็นการสั่งมากกว่าการสอน การสั่งเป็นเพียงการเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการเหล่านั้น ซึ่งผู้เรียนจะทำได้มากน้อยหรือดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กันศักย
ภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูไม่ได้สอนเพราะการสอนหมายถึง การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่ม
พูนขึ้นจากระดับที่เป็นอยู่ ดังนั้นหากครูจะสอนกระบวนการวิจัย ครูจะต้องช่วยให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว ครูจำเป็นต้องช่วยเสริมทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน
ในแต่ละขั้นตอน ซึ่งทักษะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นทักษะที่เรียกว่า ทักษะกระบวนการ ซึ่งอาจเป็น
ทักษะกระบวนการทางสติปัญญา เช่น ทักษะกระบวนการคิด หรือทักษะกระบวนการทางสังคม
เช่น ทักษะการปฏิสัมพันธ์ ทักษะการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงบทบาทครูในการจัด
การเรียนรู้โดยกระบวนการวิจัยในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการวิจัย นำเสนอได้ดังตาราง 5


ตาราง 5 บทบาทครูในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการวิจัย
กระบวนการวิจัย
บทบาทครู
1. ระบุปัญหาการวิจัย
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถระบุปัญหาการวิจัยได้ชัดเจน
ครูควรสอนและฝึกทักษะการสังเกตปัญหา ตั้งคำถาม รวบรวมข้อ
มูล วิเคราะห์ปัญหา และระบุปัญหาที่แท้จริง
2. ตั้งสมมติฐาน
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถตั้งสมมติฐานได้
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตุ
คาดเดาคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักการและมีหลักฐานรองรับและ
ตั้งสมมติฐานที่เหมาะสม
3. พิสูจน์ ทดสอบ สมมติฐาน
ครูทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถพิสูจน์ ทดสอบสมมติฐานได้
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการและวิธีการ
ในการออกแบบ การพิสูจน์หรือทดสอบสมมติฐานที่เหมาะสมกับ
ศาสตร์ของเรื่องที่วิจัย
4. รวบรวมข้อมูล
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถรวบรวมข้อมูลได้
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาแหล่งข้อมูล วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมกับ
ศาสตร์ของเรื่องที่วิจัย
5. วิเคราะห์ข้อมูล
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการที่เหมาะสมกับศาสตร์ของ
เรื่องที่วิจัยในการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติต่าง ๆ การกำหนด
เกณฑ์ประเมิน และการนำเสนอข้อมูล
6. สรุปผล
ครูจะทำอย่างไร ผู้เรียนจึงจะสามารถสรุปผลได้
ครูควรสอนและฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการสรุปข้อมูล และการตอบ
สมมติฐาน


สรุปว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีแนวทางการจัดการเรียนรู้  4 แนวทาง คือ
1. ครูใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน
2. ผู้เรียนใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอน
3. ครูใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน
4. ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แนวทางที่ 4 ได้แก่ ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนการสอน ซึ่งใช้กระบวนการวิจัย 6 ขั้น ในการจัดการเรียนรู้มีกระบวนการวิจัย ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นระบุปัญหาการวิจัย
ขั้นที่ 2 ขั้นตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่ 3 การพิสูจน์ทดสอบสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 ขั้นรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 5 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น