วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้


การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
   The  Solo taxonomy
          The Solo taxonomy  เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดง คุณสมบัติในระดับต่างๆของคำถามและคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียนเป็นชุดของเกณฑ์ประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นระบบนำมาช่วยอธิบายว่าผู้เรียนมีพัฒนาการปฏิบัติที่สําคัญอย่างไรในการเรียนเพื่อรวบรู้ที่มีความปฏิบัติเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
 การใช้Solo taxonomyในการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
Solo taxonomyคือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอนและการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้นแต่เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่าผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือผู้จะมีวิธีการอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดการพัฒนามากขึ้น เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs and collis (1982)เป็นระบบที่นำมาช่วยอธิบายว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่สําคัญอย่างไรในการเรียนเพื่อร่วมหรือที่มีความหลากหลายของเข้าหน้างานทางวิชาการโดยมีนิยามจุดประสงค์ของหลักสูตรในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติงานผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้Solo taxonomya จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียน ตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจากหลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปกำหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง สืบเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสาขาวิชา การประเมินความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวแบ่งให้เป็น 5 ระดับ (1)  ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้างเดี่ยว(Uni-structural) (3)  ระดับโครงสร้างหลาย(Multi-structural) (4) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational) และ (5)  ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Biggs and Collis เสนอวิธีการไว้ดังต่อไปนี้
          1 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน
          2 ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนเมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่าคำกริยาที่นำมาใช้เพื่อการประเมินมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละระดับดังนี้
·       ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐานนักเรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วนส่วนที่ไม่ปะติดปะต่อกันไม่มีการจัดการข้อมูลและความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
·       ระดับโครงสร้างเดี่ยวผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานง่ายต่อการเข้าใจแต่ไม่แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
·       ระดับโครงสร้างหลากหลายผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลายๆชนิดเข้าด้วยกันความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
·       ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้างผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลได้ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมทั้งหมดได้
·       ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาพขยายผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญและแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
ตารางที่ 24 การจัดระดับ SOLO Taxonomy คำถามและการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
เพื่อความเข้าใจและการนำมโนทัศน์ SOLO Taxonomy ไปใช้ บิกส์ได้สรุปไว้ดังตาราง 25

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgc7D4WRlv10LGwfaU4YPv8gPM2iXZIqylz_EOsIHrxbij_Do8OrUQnMU16QjSg2TY_CaTlP4mVlLa2XMnllQdtL05QFlyDR_Cw9n6S7_orOQyTmicSsgOKHegHj8v2Kuis_UZ0KcB1F3k/s640/33.jpg


            ตารางที่ 25 ระดับความเข้าใจ ระยะของการเรียนรู้ และคำกิริยาที่ใช้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhI0T6n289UfRMppA0oy_LnnQlZlxxVkF1xsDeOTDrYZM10kKfvQ4igDEfSX1Uyb8LTlcCAXzW-B7lU9oyn0INP_xE2eTwCyzsLYvMHosVg5qpzxDPz2mA25HetDaNo3jiXm8P_theILOA/s640/34.jpg

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh711a8QreuekGXOiI9lvwHmipVCxtF1jaRPXYt-fJyDgI8t_BZKfa__vv06xwwnE1hc2VcGa9Tra6ST9daCVsOSHl90zt7WXas47ZiC9NVdFUo08c487tW74CuUYy9akvfTyS8Td7BH68/s640/35.jpg

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhwZ36JwJEeiH7bRz3ZZF9LtUwu8pNtukR9PRcJrtjiFeYVqJMl1lm9Nxg_vkDRV6NYPegHoPtYoqulAEQ8AXk6x8xEGtUaUUNT5r7tVsaydLssCtt92dLoX7nzg4Z06uLzbzWC4ykWXRU/s640/36.jpg


ประเด็นสำคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้  Solo taxonomy
           การปรับใช้ Solo taxonomy กับแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้มีอยู่มากมายอาทิ
          ในการสอนครูผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไรครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
          ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใดจะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
          การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสำคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสามารถและการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีการปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้สรุปได้ว่า
ทำให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น(ความมุ่งมั่น/เจตนา) (การเรียนรู้) (ผลผลิต)\
การทดสอบสมรรถนะ =>ILO’s =>การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการILOในการบรรลุผลการเรียนรู้ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
          Solo taxonomy เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการให้เหตุผลในการกำหนดสมรรถนะในหลักสูตรและรายวิชาต่างๆดังตัวอย่างต่อไปนี้
          การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด Solo taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
           Solo  4:  การพูดอภิปรายสร้างทฤษฎีทำนายหรือพยากรณ์
           Solo  3:  อธิบายวิเคราะห์เปรียบเทียบ
           Solo  2:  บรรยายรวมกันจัดลำดับ
           Solo  5:  ท่องจำระบุคำนวณ
          บทบาทของการสอบ
          การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อนแนวคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการทดสอบสมรรถภาพหรือผลผลิตของการสอนนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
          ทฤษฎีการวางแผน(ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
          ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ(และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
          ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดการสอบคล้ายกับการปรับเปลี่ยนจากความชั่วร้ายเป็นการสร้างแรงจูงใจและแนวทางในการเรียนรู้ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้การจัดการสอนของครูผู้สอน
          การจัดลำดับขั้นของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม( bloom's taxonomy 1956 ) เมื่อนำมาสัมพันธ์กับแนวคิด Solo taxonomy ของBiggs and Collis  1982
            Solo  1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นความรู้(จำ)ความเข้าใจและการนำไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
           Solo  3 และ 4  สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่าข้อมูลเชิงคุณภาพ
          ตัวอย่างการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
          ระดับ  Solo 1 หมายถึงการเรียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิมการเขียนแผนจะยึดตำราเป็นหลักธรรมแบบฝึกหัดตามหนังสือจัดกิจกรรมซ้ำๆใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปไม่มีการประเมินการใช้จริง
          ระดับ  Solo 2 หมายถึงการปรับประยุกต์ใช้การนำแผนการสอนที่มีอยู่ให้ดีขึ้นมีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริงมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อยคำนึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เน้นที่จะดีมากกว่าการปฏิบัติ
          ระดับ  Solo 3 หมายถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่การเขียนแผนที่คำนึงถึงพฤติกรรมใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การเขียนแผนแนวทางมหภาคใช้ผลงานการวิจัยประกอบการสอนเน้นมโนทัศน์ของวิชานั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ
          การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
          ค่าเฉลี่ย 1.00 ถึง 1.49 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The studies model  ระดับต่ำ/ปรับปรุง
          ค่าเฉลี่ย 1.50 ถึง 2.49 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบThe studies model  ระดับปานกลาง/พอใช้
          ค่าเฉลี่ย 2.50 ถึง 3.00 หมายความว่ามีความสามารถในการเขียนแผนและนำแผนจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบThe studies model  ระดับสูง/ดี

https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEjRqmyKYDYnVqGjX6HY11zPNopjIyi0IKsZ8r127rfd5OLmG_MgqQt7VBn0E0SxAPjQ4y7YgS4-kMZ83X4G0NJbqyXwKKSnU2vblzvwB5fUn3DhD1KNZT0xr2_mR-95V14-K_525nS90MXCy8pePw=s0-d

กระบวนการประกันคุณภาพภายใน
        ระบบการประกันคุณภาพภายใน หมายถึง ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัด ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น สถานศึกษาจะต้องพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการ ปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการดังต่อไปนี้
1. หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามี 3 ประการคือ
        -    จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุง คุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ไม่ใช่การจับผิดหรือทำให้บุคลากรเสียหน้า โดย เป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
        -    การที่จะดาเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมายการประกันคุณภาพภายใน ต้องทำให้การ ประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ใช่เป็นกระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติ ของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ทำตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความ โปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน
        -    การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษาโดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ชุมชน เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกาหนด เป้าหมาย วางแผน ติดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันผลักดันให้ สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของ ผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ
2. กระบวนการการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของการประกันคุณภาพ มี 3 ขั้นตอนคือ 
        -    การควบคุมคุณภาพ เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนา สถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน
        -    การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
3. กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
        -    การร่วมกันวางแผน (Planning)
        -    การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing) 
        -    การร่วมกันตรวจสอบ (Checking) 
        -    การร่วมกันปรับปรุง (Action)
        การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพก็คือกระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพตามหลักการบริหารนั่นเอง โดยการควบคุมคุณภาพ คือ การที่สถานศึกษาต้องร่วมกันวางแผนและดาเนินการตามแผน เพื่อพัฒนา สถานศึกษาให้มีคุณภาพตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา ส่วนการตรวจสอบคุณภาพ คือ การที่สถานศึกษาต้องร่วมกันตรวจสอบเพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาเมื่อ สถานศึกษามีการตรวจสอบตนเองแล้วหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษาและต้นสังกัดก็เข้ามาช่วยติดตามและ ประเมินคุณภาพเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาปรับปรุงสถานศึกษา ซึ่งจะทำให้สถานศึกษามีความอุ่นใจ และเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพอยู่เสมอ
การประเมินคุณภาพภายนอก
        การประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกันการประเมินคุณภาพภายนอกจะ นำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา อย่างแท้จริง
แนวคิดและหลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก
        การประเมินภายนอกของ สมศ. เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบ “ กัลยาณมิตรประเมิน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
    1. เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดาเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตาม มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
    2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น-จุดด้อยของสถานศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และ สาเหตุของปัญหา
    3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
    4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
    5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
    การประเมินคุณภาพภายนอก มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน ดังต่อไปนี้
    1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
    2. เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษามุ่งสู่ คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
    3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้สังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการ วางแผนและดาเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและ บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
    4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสาคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของ สถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายทางการศึกษาและการ จัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น