การประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกคือการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตามการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนสมศหรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรอง โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสมศเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกมีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนดังต่อไปนี้
1 เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
2 เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาให้มั่นใจได้ว่าสถานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีความสามารถและมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแลเช่นคณะกรรมการสถานศึกษาหน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการเรียนรู้เป้าหมายตามที่กำหนด
4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชนกำหนดหลักการสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอกซึ่งมีหลักการสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
1 เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการตัดสินการจับผิดหรือการให้คุณให้โทษ
2 ยึดจากความเที่ยงตรงเป็นธรรมมีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้
3 มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5 ทุ่มสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพศ. 2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบายแต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติโดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นตามสภาพของสถาบันและผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
การประเมินสภาพภายนอกมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน 2550)
1 เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพดีในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
2 เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่นจุดที่ควรพัฒนาของสถานศึกษาสาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสำเร็จ
3 เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงประเภทหนังสือภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
4 เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5 เพื่อรายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้รับการรับรองจากสมศให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมกำกับดูแลตรวจสอบประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษา
4 การประเมินคุณภาพภายใน
clark (2005:2)กล่าวว่า การประเมินคุณค่าภายในโปรแกรมการเรียนการสอนวิธีการประเมินที่นำไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดำเนินการถ้าประเมินเน้นที่กระบวนการประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นและนำไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไปในการประเมินจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนโดยกำหนดจุดมุ่งหมายคือการจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้หรือไม่ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบว่าการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการชั้นเรียนและพัฒนาผู้เรียนได้จริงถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียนการสอนแก้ไขกันอาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเกรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดำเนินการได้ทันท่วงทีการประเมินนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน Kemp : 1971เสนอแนะการประเมินไว้ดังนี้
1 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
2 ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
3 ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใดเพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และเป็นที่ยอมรับของผู้สอนหรือไม่
4 กิจกรรมต่างๆเหมาะสมสำหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
5 วัสดุต่างๆสะดวกและง่ายต่อการติดตั้งการหยิบการใช้หรือการเก็บรักษาหรือไม่
6 ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอนกิจกรรมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการประเมินผลอย่างไรบ้าง
7 ข้อสอบเพื่อการประเมินตนเองและข้อสอบหลังการเรียนแล้วใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียนได้หรือไม่
8 ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้างเพื่อหารูปแบบและอื่นๆ
การประเมินภายนอก
clark (2005:2) กล่าวว่าประเมินคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินหลังการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนผู้นำผลการประเมินเพื่อใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์โดยสรุปการประเมินเพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบโดยรวมเป็นการประเมินที่ตอบคำถามว่าการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่การออกแบบการเรียนการสอนตลอดจนการมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนบ้างเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับผู้ออกแบบการเรียนการสอนได้พัฒนาต่อไป Kemp :1971เสนอแนะแนวคิดการประเมินไว้ดังนี้
1 จุดมุ่งหมายทั้งหมดได้รับการบรรลุผลในระดับใดบ้าง
2 หลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้วการปฏิบัติงานของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทักษะและการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
3 การใช้วัสดุต่างๆง่ายต่อการจัดการสำหรับผู้เรียนจำนวนมากๆหรือไม่
4 สิ่งอำนวยความสะดวกกำหนดการและการนิเทศมีความเหมาะสมกับโปรแกรมหรือไม่มี
5 การระวังรักษาการหยิบการใช้เครื่องมือและวัสดุต่างๆ หรือไม่
6 วัสดุต่างๆที่เคยใช้แล้วถูกนำมาใช้อีกหรือไม่
7 ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียนวิธีการสอนกิจกรรมและเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้สอนและผู้เรียนคนอื่นๆ
การประกันคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการติดตามและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับ ซึ่งประเมินโดย “สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเรียกชื่อย่อว่า“สมศ.” พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุกรอบ 5 ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
รูปแบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งใหมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ –ให้โทษ
2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง(evidence– based) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้(accountability)
3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น