วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้

การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้
            บูรณาการ หมายถึง การรวมวิชาต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกเนื้อหาตามศาสตร์ของสาขานั้นๆ แต่ใช้แทนการเน้นการเป็นศูนย์กลางของการจัด การบูรณาการนี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับของสิ่งต่างๆ รอบตัวมากกว่าเรียนวิชาเดียว
รูปแบบการบูรณาการ
ประเภทที่ 1 การบูรณาการเนื้อหาและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ประเภทที่ 2 การบูรณาการระหว่างวิชา
ประเภทที่ 3 บูรณาการ หลักสูตร
วิธีการบูรณาการ
             การดำเนินการเพื่อการบูรณาการไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนหรือหลักสูตรฟอการ์ตี (Fogarty, 1991) ได้แนะนำวิธีการบูรณาการเนื้อหาวิชาตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไปว่าควรประกอบด้วยวิธีการบูรณาการ 4 วิธี คือ
1. บูรณาการความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชา หมายถึง ในการจัดการเรียนการสอนของครูแต่ละหัวข้อเรื่อง ครูต้องจัดเรียงหัวข้อเรื่องหรือ หน่วยที่สอนเกี่ยวข้องกันมาสอนในเวลาเดียวกัน แล้วลำดับเรื่องจากง่ายไปยาก จากใหญ่ไปย่อยโดยให้เกิดความต่อเนื่อง เข่น ครูสอนเรื่อง สัตว์เลี้ยง ควรต่อจากเรื่องปศุสัตว์ เป็นต้น
2. บูรณาการระหว่างวิชา หมายถึง การจัดระเบียบการสอนมโนทัศน์ หรือเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกันใหม่ ด้วยการร่วมมือกันเป็นทีมระหว่างครูผู้สอน เพื่อลดหรือย้ายเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนออกให้มากที่สุด เพื่อลดความซ้ำซ้อนนี้ ควรใช้วิชาที่เกี่ยวข้องกันประสานกัน เช่น วิชาสุขศึกษา การงาน พลศึกษา ร่วมบูรณาการกันเป็นทีมได้

3. การบูรณาการโดยสร้างข่ายใยแมงมุม หลักสูตร ข่ายในแมงมุมหลักสูตรจะเป็นภาพทัศน์แสดงให้เห็นกระบวนการบูรณาการการเรียน รู้ต่างๆ กับเนื้อหาที่เด็กต้องการ ประโยชน์ที่ได้ คือ ทำให้ครูรู้ทิศทางเนื้อหาว่าจะสอนอย่างไร สามารถตรวจสอบขอบเขตเนื้อหาได้และยังช่วยครูในการ วางแผนเนื้อหาและแจกกิจกรรมได้อย่างครอบคลุม (กุลยา ตันติผาชีวะ, 2543 : 26-27)
4. การบูรณาการตามแนวหลักสูตรที่กำหนด การบูรณาการประเภทนี้หมายถึงการที่หลักสูตรนั้นๆมีแนวของหลักสูตร ที่เน้นการสอนภาษาแบบ เน้นธรรมชาติ หลักสูตรที่เน้นการสอนแบบโครงการ เป็นต้น การบูรณาการตามแนวหลักสูตรนี้จะเป็นไปตามมโนทัศน์ของแนวคิดหรือทฤษฎีที่เป็น แนวของหลักสูตรนั้นๆ
ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ
1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้ กระบวนการ และการปฏิบัติ
2. เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน
3. เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง
4. เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ
5. เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของวิชาต่างๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
ประโยชน์ของการบูรณาการ
1. เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่างๆเชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้ง และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง 
3. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวม
4. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ความเข้าใจจากสิ่งต่างๆที่มีอยู่รอบตัว
5. เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกัน หรือประสานงานร่วมกันอย่างมีความสุข
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ๆมาใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น