วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

ประเภทของการสอนแบบบูรณาการ

ประเภทของการสอนแบบบูรณาการ
ประเภทของการสอนแบบบูรณาการ มี  2  แบบ  คือ
 1. การบูรณาการภายในกลุ่มวิชาหรือสาขาวิชาเดียวกัน  โดยกำหนดหัวเรื่อง (Theme)  ขึ้น  แล้วบูรณาการขอบข่ายวิชาต่างๆ ในการสอนตามหัวเรื่องนั้น           
 2.การบูรณาการระหว่างวิชา  เป็นการเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่าง ๆ  ตั้งแต่  2  สาขาวิชา
ขึ้นไป  ภายใต้หัวเรื่อง  (Theme)  เดียวกัน  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในวิชาต่าง ๆ  มากกว่า  1 วิชาขึ้นไป  เพื่อการแก้ปัญหา  หรือ  แสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง  ไม่ใช่เพียง ผิวเผิน  และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น
            การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการระหว่างวิชาจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวมไม่ว่าวิชาใดก็จะสามารถจะใช้วิธีบูรณาการได้ทั้งสิ้น  ข้อสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการบูรณาการที่ดี  การเรียนการสอนแบบบูรณาการระหว่างวิชาจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ความเข้าใจสิ่ง ที่อยู่รอบตัวได้
            การสอนแบบบูรณาการทั้งสองแบบมีหลักการเช่นเดียวกันกล่าวคือมีการกำหนดหัวเรื่องที่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดต่าง ๆ  มีการวางแผนการจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ  ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและลงมือปฏิบัติ

รูปแบบของการบูรณาการ  (Models  of  Integration)
 รูปแบบของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการมี  4  รูปแบบ  คือ
1.  การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก  (Infusion  Instruction)
 การสอนรูปแบบนี้ครูผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่น ๆ  เข้าไปในการสอนของตน  เป็นการวางแผนการสอนและสอนโดยครูเพียงคนเดียว
2.  การสอนบูรณาการแบบขนาน  (Parallel  Instruction)
            การสอนตามรูปแบบนี้  ครูตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  ต่างคนต่างสอนแต่ต้องวางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกัน (Theme/concept/problem)ระบุสิ่งที่ร่วมกันและตัดสินในร่วมกันว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้นๆ อย่างไรในวิชาของแต่ละคนงานหรือการบ้านที่มอบหมายให้นักเรียนทำจะแตกต่างกันไปในแต่ละวิชาแต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน
3.  การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ  (Multidisciplinary  Instruction)
            ขนาน (Parallel  Instruction)  กล่าวคือครูตั้งแต่  2  คนขึ้นไปสอนต่างวิชากัน  มุ่งสอนหัวเรื่อง  ความคิดรวบยอด/ปัญหาเดียวกันต่างคนต่างแยกกันสอนเป็นส่วนใหญ่  แต่มีการมอบหมายงาน  หรือโครงการ (Project)  ร่วมกัน  ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงสาขาวิชาต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน  ครูทุกคนจะต้องวางแผนร่วมกันเพื่อที่จะระบุว่าจะสอนหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหานั้นในแต่ละวิชาอย่างไรและวางแผนสร้างโครงการร่วมกัน(หรือกำหนดงานจะมอบหมายให้นักเรียนทำร่วมกัน)และกำหนดว่าจะแบ่งโครงการนั้นออกเป็นโครงการย่อย ๆ  ให้นักเรียนปฏิบัติแต่ละรายวิชาอย่างไร
อนึ่ง  พึงเข้าใจว่าคำว่า  โครงการ”  นี้มีความหมายเดียวกันกับคำว่า  โครงงาน”  มาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ  “Project” หลายท่านอาจคุ้นกับคำว่า  โครงงาน มากกว่า  เช่น  โครงงานวิทยาศาสตร์”  ซึ่งก็อาจเรียกว่า   โครงการวิทยาศาสตร์”  ได้เช่นเดียวกัน

4.  การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือเป็นคณะ  (Transdisciplinary  Instrction)
            การสอนตามรูปแบบนี้ครูที่สอนวิชาต่าง ๆ  จะร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม  ร่วมกันวางแผนปรึกษาหารือ  และกำหนดหัวเรื่อง/ความคิดรวบยอด/ปัญหาร่วมกัน  แล้วร่วมกันดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน
การสร้างบทเรียนแบบบูรณาการ
ที่  1  และ  2  และการสอนบูรณาการตามรูปแบบที่  3  และ  4
การสอนตามรูปแบบที่  1  (Infusion  Instruction)  และรูปแบบที่  2  (Parallel  Instruction)  มี  2  วิธีคือ
วิธีที่หนึ่ง  เลือกหัวเรื่อง (Theme) ก่อนแล้วดำเนินการพัฒนาหัวเรื่องให้สมบูรณ์  มีกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมให้ชัดเจน  กำหนดแหล่งข้อมูลหรือทรัพยากรที่จะใช้ในการค้นคว้าและเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและอื่นๆ  ตามลำดับ
 วิธีที่สอง  เลือกจุดประสงค์รายวิชาจาก  2  รายวิชาขึ้นไปก่อน  แล้วนำมาสร้างเป็นหัวเรื่อง (Theme)  ที่ร่วมกันระหว่างจุดประสงค์ที่เลือกไว้กำหนดแหล่งข้อมูลหรือทรัพยากรที่ใช้ในการค้นคว้าและเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและอื่นๆ  ตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น