การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
การประเมินการเรียนรู้ จะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับว่าการจัดการเรียนรู้บรรลุพันธกิจหรือไม่ มีดาว จําเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของโปรแกรมการศึกษา การประเมินเพื่อพัฒนาประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้
Ghaye, T (1995) เสนอแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน จะต้องพิจารณาคําถาม 5 ข้อ คือ
1. คําถามเกี่ยวกับเวลา
การปรับปรุงควรจะเกิดขึ้นเมื่อไร
ผลของการปรับปรุงควรจะได้ผลอย่างชัดเจนเมื่อไร
2. คําถามเกี่ยวกับขนาดของงาน
ขอบเขตของการปรับปรุงควรมีขนาดเท่าไร เพียงใด
ผู้เกี่ยวข้องมีกี่คน จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
ผลของการปรับปรุงที่คาดการณ์ไว้มีลักษณะอย่างไร มีความสําคัญเพียงใด และให้ผลอะไร ในด้านการศึกษา
3. คําถามเกี่ยวกับความไม่แน่นอน
จะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การปฏิบัติ แรงจูงใจ หรือ ทิศทางใหม่เป็นการปรับปรุงจริงๆ
จะตรวจสอบจากหลักฐานใดว่ามีการปรับปรุงเกิดขึ้นแล้ว
มีความเข้าใจในความเกี่ยวโยงกันระหว่างสิ่งที่รู้สึกว่าพัฒนาแล้วกับการพัฒนาที่ชัดเจน เมื่อ มองในแง่ของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การพัฒนาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นจริง หรือเป็นเพียงจินตนาการ
4. คําถามเกี่ยวกับการเมืองในโรงเรียน
การเมืองในโรงเรียนมีความสําคัญต่อความพยายามในการปรับปรุง เนื่องจากการปรับปรุงมี แนวคิดพื้นฐานมาจากค่านิยมและเป็นกระบวนการที่มีระบบ บุคคลในองค์กรจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และต้องการที่จะปฏิบัติตามแนวคิดของตน การเข้าใจการเมืองที่อยู่เบื้องหลังความพยายามในการปรับปรุง เท่ากับยอมรับว่าในโรงเรียนย่อมมีการช่วงชิงกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ การทบทวนจะทําให้เกิดคําถาม เชิงการเมือง เพราะการปรับปรุงเกี่ยวกับ “ผลประโยชน์” “อํานาจ” และการแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้ง เมื่อมี การปรับปรุงคําถามคือ ใครจะได้ผลประโยชน์อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และเพราะเหตุใด
5. คําถามเกี่ยวกับการลงลึกในการปฏิบัติการ
ถ้าการปรับปรุงมีจุดอ่อนและมีแรงกดดันจากภายนอก การปรับปรุงก็จะมีลักษณะฉาบฉวย จนทําให้ละเลยสิ่งที่เป็นรากฐานที่ควรให้ความสนใจ สิ่งสําคัญจะต้องทําความเข้าใจว่า การปรับปรุงโรงเรียน และการปฏิรูปในโรงเรียนแตกต่างกัน โดยที่การปฏิรูปมีผลลึกซึ้งและเป็นการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาที่มี ผลกระทบต่อทุกคนในองค์กร การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งนี้ มักจะเกิดจากการรปรับปรุงโครงสร้างและอิทธิพลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การเน้นที่การพัฒนาภายในมากเกินไปจะไม่นําไปสู่การปฏิรูป โรงเรียน การปรับปรุงในวงที่กว้างออกไปจึงเป็นปัจจัยสําคัญในการปฏิรูป
การประเมินที่ประสบความสําเร็จจะต้องมีความชัดเจนของจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ เป็นข้อความเกี่ยวกับการศึกษาที่แสดงถึงความมุ่งมั่น/เจตนาที่ตั้งใจจะ เกิดขึ้น เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และ นวัตกรรม เป็นต้น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เป็นข้อความที่มีความเฉพาะให้รายละเอียดที่ได้มาจากจุดมุ่งหมาย ใช้เขียน บรรยายพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องกระทํา เช่น ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนําไปใช้ในการตัดสินใจ ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูล
ผลการเรียนรู้ เป็นชุดรายละเอียดที่ผู้เรียนสามารปฏิบัติได้หลังจากได้เรียนในรายวิชา หรือหน่วย การเรียนในหลักสูตรรายวิชา ผลการเรียนรู้จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสําเร็จขั้นต่ําของผู้เรียนที่แสดง ออกเป็นรูปธรรมได้
ความสัมพันธ์ของจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ เขียนในรูปวัฏจักรการประเมินการ เรียนรู้ สรุปได้ดังภาพประกอบ ต่อไปนี้
รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิด Outcome Driven Model
การตรวจสอบความเข้าใจ และการสรุปความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้ ใช้ แนวทางการประเมินการเรียนรู้ ตามแนวคิด Outcome Driven Model
สรุปเป็นแผนภาพ ได้ดังนี้
การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษามีจุดม่งหมาย เพื่อรวบรวมรายละเอียดต่างๆ เพื่อแสดงความก้าวหน้าตามเป้าหมายของหลักสูตรและเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาจุดมุ่งหมายของการวัดผลแยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ (ภัทรา นิคมานนท์ 2543 : 20)
1. เพื่อการจัดตำแหน่ง (Placement) โดยใช้ผลการสอบบอกตำแหน่งของผู้เรียนว่ามีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับใดของกลุ่ม หรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์แล้วอยู่ในระดับใด การใช้แบบสอบเพื่อจัดตำแหน่งนี้ ใช้ในวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1.1 ใช้สำหรับคัดเลือก (Selection) เป็นการใช้ผลการสอบในการตัดสินใจ ในการคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนต่อ การเข้าทำงาน การให้ทุน ผลการสอบนี้ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงอันดับที่สำคัญ
1.2 ใช้สำหรับแยกประเภท (Classification) เป็นการใช้ผลการสอบในการจำแนกบุคคลเป็นกลุ่ม เป็นพวก เช่น ใช้ในการตัดสินได้ตก แบ่งพวกเก่งอ่อนด้านใดด้านหนึ่ง พวกที่ผ่านเกณฑ์และยังไม่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้
2. เพื่อการเปรียบเทียบ ( Assessment ) เป็นการประเมินก่อนเริ่มต้นการเรียนการสอน (Pre-test) ของแต่ละบทเรียนหรือแต่ละหน่วย เพื่อพิจารณาดูว่าผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนเพียงใด ซึ่งจะช่วยให้รู้ว่าในระหว่างการเรียนรู้ ผู้เรียนควรมีความรู้เพิ่มอย่างไร และเป็นการพิจารณาดูว่าในการสอนอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพผู้เรียน อนึ่งหากว่าผลการประเมินผลก่อนเรียนพบว่า ผู้เรียนมีพื้นฐานไม่พอเพียงที่จะเรียนในเรื่องที่จะสอน ก็จำเป็นต้องได้รับการสอนซ่อมเสริมให้
มีพื้นฐานที่พอเพียงเสียก่อนจึงจะเริ่มต้นสอนเนื้อหาในหน่วยการเรียนต่อไปได้
3. เพื่อการวินิจฉัย ( Diagnosis )เป็นการใช้ผลการสอบเพื่อค้นหาจุดเด่น จุดด้อยของผู้เรียนว่ามีปัญหาในเรื่องอะไร เพื่อจะนำไปสู่การตัดสินใจแก้ไขปรับปรุงให้ตรงเป้า แบบทดสอบที่ใช้เพื่อการนี้ คือแบบสอบวินิจฉัยการเรียน ( Diagnostic Test ) การนำผลการสอบไปใช้ในการวินิจฉัยการเรียนนี้
มักใช้ในวัตถุประสงค์ 2 ประการดังนี้คือ
3.1 เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนหรือประเมินผลย่อย โดยการประเมินผลนี้ใช้ระหว่างมีการเรียนการสอน เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ หากว่าผู้เรียนไม่ผ่านจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนก็จะหาวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนนั้นมีความรู้ตามเกณฑ์ที่
ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังใช้ผลการประเมินเพื่อตรวจสอบตัวผู้สอน เช่น ผลจากการสอนเนื้อหาเรื่องหนึ่ง ปรากฏว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ในกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่าน จุดประสงค์ที่ตั้งไว้ผู้สอนก็อาจจะตรวจสอบว่าการสอนของตนเองเป็นอย่างไร การอธิบายชัดเจนหรือไม่ เมื่อผู้สอนตรวจสอบดูแล้วหากพบข้อบกพร่องจุดใดก็แก้ไขตรงตามนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น