การประเมินผล (Evaluation)
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
(2522 : 1) ให้ความหมายไว้ว่า
การประเมินผล หมายถึงกระบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่ได้จากการวัดว่า
เป็นที่ต้องประสงค์หรือมีค่านิยมถูกต้องหรือไม่มากน้อยเพียงใด
การประเมินผลจำเป็นต้องมีเป้าหมายหรือเกณฑ์ไว้ก่อนแล้ว
จึงนำข้อมูลที่ได้จากการวัดนั้นมาประเมินในทิศทางตามเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
บุญเชิด
ภิญโญอนันตพงษ์ (2521 :6) กล่าวว่า การประเมินผลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผล
และวินิจฉัย ตัดสิน สรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดอย่างมีหลักเกณฑ์
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และอเนกกุล กรีแสง (2517 : 7)
ให้ความหมายการประเมินผลเป็นการใช้
วิจารณญาณตัดสินคุณค่า โดยอาศัยการวัดผลเป็นเครื่องช่วย
สรุปได้ว่า การประเมินผลเป็นขบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่ได้จากการวัดผลว่า
สิ่งนั้นหรือบุคคลนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน สอบได้หรือสอบตก เป็นต้น
จุดประสงค์ของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
ในการวัดผลและประเมินผลการศึกษานั้น มีจุดประสงค์ที่สำคัญดังนี้ (ลำพอง
บุญช่วย ม.ป.ป. : 214-215)
1.
เพื่อการคัดเลือก (Selecion)
การพิจารณารับนักเรียนเข้าเรียน
ต้องอาศัยการวัดผลและประเมินผลกรรมเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด
2.
เพื่อจำแนกบุคคล (Classification)
การจำแนกบุคคลออกเป็นพวกเก่งอ่อน สอบได้ สอบตก หรือการให้เกรดเป็น A
B C D E ก็ต้องอาศัยการวัดผลประเมินผลทั้งสิ้น
3.
เพื่อวินิจฉัย (Diagnosis)
การวัดผลและประเมินผลจะช่วยให้ครูสามารถวินิจฉัยได้ว่า เด็กคนใดเก่ง
อ่อนด้านใด ซึ่งทำให้มองเห็นวิธีแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆได้
4.
เพื่อประเมินความก้าวหน้า (Assessment) การที่จะทราบได้ว่าผู้เรียนมีความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมไปจากเดิมหรือไม่
เพียงใดนั้น จำเป็นต้องอาศัยการวัดผลประเมินผลเป็นเครื่องชี้ โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
แล้วนำมาเปรียบเทียบกันดู ก็จะทำให้ทราบความก้าวหน้าของผู้เรียนได้
5.
เพื่อทำนาย (Prediction)
การวัดผลและประเมินผลช่วยให้ได้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับผู้เรียน
ซึ่งสามารถนำมาประกอบในการพิจารราว่า นักเรียนคนใดควรเรียนอะไร ได้ดีในอนาคต
ซึ่งจำเป็นสำหรับการแนะแนวเป็นอย่างยิ่ง
6.
เพื่อจูงใจในการเรียนรู้ (Motivating
Learning) การวัดผลและประเมินผลเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
เกิดความพยายาม โดยเฉพาะเมื่อมีการทดสอบแล้ว ผู้เรียนได้ทราบผลการสอบของตนย่อมทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน
7.
เพื่อประเมินวิธีการสอนของครู (Evaluation of Treatment) การวัดผลและประเมินผลที่ดีจะต้องวัดผลทั้งตัวผู้เรียนและตัวครู
ทั้งนี้เพราะการที่ผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จ อาจเกิดจากวิธีการสอนของครูที่ใช้ไม่ดี
วัสดุอุปกรณ์ไม่เหมาะสม
ดังนั้นการวัดผลและประเมินผลวิธีการสอนของครูจึงมีความจำเป็น
8.
เพื่อรักษามาตรฐาน (Maintaining
Standard) ในการผลิตกำลังคนของสถาบันต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพ
วิธีการอันหนึ่งที่จะใช้ในการรักษามาตรฐานก็ได้แก่ การวัดผลและประเมินผลนั่นเอง
ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน
การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน
เป็นกระบวนการที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพราะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ
คือ (กรมสามัญศึกษา 2522 :8)
1.
การประเมินผลช่วยการตัดสินใจในด้านการเรียนการสอน
ผลที่ได้จากกระบวนการวัดผลและประเมินผล
จะเป็นข้อมูลย้อนกลับที่นำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
2.
การประเมินผลช่วยตัดสินใจในด้านการแนะแนว
ปกตินักเรียนมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาต่อ การเลือกอาชีพ และปัญหาส่วนตัวอยู่เสมอ
ซึ่งการวัดผลจะช่วยในเรื่องนี้ได้ ด้วยการใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ
3.
การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการบริหาร
การประเมินผลการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้บริหารทราบว่า
ควรจะแก้ไขปรับปรุงกลไกการบริหารงานของสถานศึกษาอย่างไร
4.
การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการวิจัย การวิจัยในด้านการเรียนการสอน
การแนะแนวและการบริหาร ย่อมต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากการวัดผลและประเมินผล
หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในงานวิจัยได้ด้วย
ประเภทของการประเมินผล
การจำแนกประเภทของการประเมินผลนั้น จะจำแนกออกเป็นกี่ประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง
โดยทั่วๆ ไปแล้วมีเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทของการประเมินผลอยู่ 2 เกณฑ์
1.
จุดประสงค์ของการประเมินผล แบ่งออกได้เป็น
1.1 การประเมินผล เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
1.2การประเมิล เพื่อตัดสินผลการเรียน
2.
จำแนกตามระบบการวัดผล แบ่งออกได้เป็น
2.1 การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม
2.2 การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์
สรุปการประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินผลเป็นขบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่ได้จากการวัดผลว่า
สิ่งนั้นหรือบุคคลนั้นเป็นอย่างไรเป็นการสรุปเกี่ยวกับสิ่งนั้นเพื่อให้ทราบข้อบกพร่องในการเรียนการสอนและปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น การวัดและประเมินผลการเรียนนอกจากจะมีประโยชน์โดยตรงต่อผู้เรียนแล้ว
ยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพการการสอนของครู
และเป็นข้อมูลสำคัญที่สะท้อนคุณภาพการดำเนินงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น